วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย


การแพทย์แผนไทย
ประวัติ การแพทย์แผนโบราณเริ่มมีการบันทึกไว้ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล มีชายผู้หนึ่งชื่อชีวกโกมารภัจจ์มีความสนใจในการศึกษาวิชาแพทย์ เป็นวิชาที่ประกอบอาชีพไม่เบียดเบียนผู้ใด เป็นผู้ปฏิบัติประกอบด้วยเมตตากรุณาเกื้อกูลแก่ความสุขของมนุษย์ จึงได้ศึกษาวิชาแพทย์ในสำนักแพทย์ผู้ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักศิลา ท่านเป็นผู้ที่ฉลาด สามารถในการศึกษา เรียนได้มาก เรียนได้เร็ว ทรงจำได้เร็ว ทรงจำได้ดี ไม่หลงลืม สามารถรักษาคนไข้หนเดียวก็หายได้ ในเวลาต่อมาพระเจ้าพิมพิสารประชวรเป็นโรคพระภคันทละ คือโรคริดสีดวงทวาร ทรงโปรดให้หมอชีวกเข้าไปถวายการรักษา หมอชีวกถวายการรักษาด้วยการทายาเพียงครั้งเดียว พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงหายโรค จึงโปรดให้เป็นแพทย์หลวงบำรุงพระองค์และฝ่ายใน กับบำรุงพระสงฆ์ นับว่าหมอชีวกเป็นแพทย์ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมีชื่อเสียงในครั้งพุทธกาล และมีผู้เคารพยกย่องอย่างมาก
ยุคก่อนอาณาจักรสุโขทัย
การค้นพบศิลา จารึกอาณาจักรขอมประมาณปี พ.ศ. ๑๗๒๕ - ๑๗๒๙ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยการสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลาขึ้น ๑๐๒ แห่ง ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในบริเวณใกล้เคียง กำหนดผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาลไว้อย่างชัดเจนได้แก่ หมอ พยาบาล เภสัช ผู้จดสถิติ ผู้ปรุงยาและอาหาร รวม ๙๒ คน มีพิธีกรรมบวงสรวงพระไภสัชยคุรุไวทูรย์ประภาตามความเชื่อตามศาสนาพุทธลัทธิ มหายาน ด้วยการบูชา ยาและอาหารก่อนแจกจ่ายผู้ป่วย ปัจจุบันมีอโรคยศาลาที่ยังเหลือประสาทที่สมบูรณ์ที่สุดคือ กู่บ้านเขวา จังหวัดมหาสารคราม
สมัยสุโขทัย
การค้นพบหินบดยาสมัยทวารวดีซึ่งเป็น ยุคก่อนสมัยสุโขทัย และจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงได้บันทึกไว้ว่าทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาด ใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยาเพื่อให้ราษฎรได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยาม เจ็บป่วย ปัจจุบันผู้เขาดังกล่าวอยู่ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
สมัยอยุธยา
การ แพทย์มีลักษณะผสมผสานปรับประยุกต์องค์ความรู้จากแพทย์พื้นบ้านทั่วราชอณา จักร ผสมกลมกลืนกับความเชื่อตามปรัชญาแนวพุทธ รวมทั้งความเชื่อทางไสยศาสตร์และโหรศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน การแพทย์แผนไทยมีเป้าหมายที่สภาวะสมดุลของธาตุ ๔ อันเป็นองค์ประกอบของชีวิต
ใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบบันทึกว่ามีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับประชาชนที่มีแห่งจำหน่ายยาและ สมุนไพรหลายแห่งทั้งในและนอกกำแพงเมือง มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทยเรียกว่าตำราพระโอสถพระ นารายณ์ การแพทย์แผนไทยในสมัยนี้รุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะการนวดไทย การแพทย์ตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยมิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศสได้จัดตั้ง โรงพยาบาลรักษาโรคแต่ก็ขาดความนิยมและล้มเลิกไป
ระหว่างเสียกรุงพม่าได้ เข้าโจมตี ๒ ครั้ง บ้านเมืองถูกทำลาย ประชาชน ราชวงศ์กษัตริย์ ขุนนาง และนักโทษจำนวนมากถูกกวาดต้อนไปยังพม่า ซึ่งอาจมีหมอแผนโบราณรวมอยู่ในกลุ่มเหล่านี้ และตำรารวมถึงคัมภีร์เก่าๆ ก็อาจถูกทำลายไปด้วย
สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ ๑
พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวง ให้ชื่อว่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายาฤาษีดัดตน และตำรานวดไทยไว้ตามศาลาราย สำหรับการจัดหายาของทางราชการ มีการจัดตั้งกรมหมอ โรงพระโอสถคล้ายกับสมัยอยุธยา ผู้รับราชการเรียกว่า หมอหลวง ส่วนหมอที่รักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่า หมอราษฎรหรือหมอเชลยศักดิ์
สมัยรัชกาลที่ ๒
พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นว่าคัมภีร์แพทย์ ณ โรงพระโอสถสมัยอยุธยาสูญหายไป จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เหล่าผู้ชำนาญลักษณะโรคและสรรพคุณยา
รวม ทั้งผู้ที่มีตำรายาดีนำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ให้กรมหมอหลวงคัดเลือกและจดเป็นตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ พ.ศ. ๒๓๕๙ มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตรากฎหมายชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย
สมัยรัชกาลที่ ๓
พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนโปรดเกล้าฯให้จารึกตำรายาไว้บนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามผนังโบสถ์และศาลารายในบริเวณวัด ศิลาจารึกนี้เป็นตำราบอกสมุฏฐานของโรค วิธีการรักษา และได้จัดหาสมุนไพรที่ใช้ปรุงยาและหาได้ยาก มาปลูกไว้ในวัดเป็นจำนวนมากนับเป็นการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอีกรูปแบบ หนึ่ง มิได้จำกัดเพียงในวงศ์ตระกูลเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้รับสั่งให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสาราม ได้จารึกตำราในแผ่นศิลาตามเสาระเบียงพระวิหาร รัชสมัยนี้มีการนำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่โดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ ซึ่งคนไทยเรียกว่าหมอปลัดเลย์ นำวิธีการแพทย์แบบตะวันตกมาใช้ เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น นับเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันตก
สมัยรัชกาลที่ ๔
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้ เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถให้ประชาชนเปลี่ยนความนิยมได้ เพราะการรักษาพยาบาลแผนไทยเป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตคนไทย
สมัยรัชกาลที่ ๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ มีการจัดตั้งศิริราชพยาบาล มีการเรียนการสอนและให้การรักษาทั้งการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกัน หลักสูตร 3 ปี การจัดการเรียนการสอนบริการทางแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกันเป็นไปด้วย ความยากลำบากและขัดแย้งระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเป็นอย่างมาก ด้วยหลักการแนวคิดและวิธีการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ทำให้ยากที่จะผสมผสานกันได้ มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนการแพทย์ครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ - ๔ ได้รับยกย่องให้เป็นตำราขึ้นมาใหม่ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทย์แผนศาสตร์สังเขป (เวชศึกษา) 3 เล่ม ซึ่งยังคงใช้เป็นคัมภีร์ทางการแพทย์มาจนทุกวันนี้
สมัยรัชกาลที่ ๖
พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวปี พ.ศ.๒๔๕๖ มีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๔๖๖ มีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อเป็นการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจุเกิดกับประชาชนอันเนื่องมาจากการประกอบการของผู้ ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัด ด้วยความไม่พร้อมในด้านการเรียนการสอน การสอบ และการประชาสัมพันธ์ ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากกลัวถูกจับจึงเลิกประกอบอาชีพนี้ บ้างก็เผาตำราทิ้ง จะมีหมอแผนโบราณเพียงจำนวนหนึ่งจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติได้ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว นับเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรคำนึงถึง
สมัยรัชกาลที่ ๗
กฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ และกำหนดว่า
๑) ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิชาโดยสากลนิยมซึ่งดำเนิน และจำเริญขึ้น โดยอาศัยการศึกษา ตรวจค้น และทดลองของผู้รู้ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
๒) ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความสังเกต ความชำนาญ อันได้สืบต่อมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราอันมีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์
สมัยรัชกาลที่ ๙
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดชมหาราช ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการจัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ ได้ก่อตั้งขึ้นที่วัดโพธิ์ กรุงเทพ นับแต่นั้นสมาคมได้แตกสาขาออกไป ปัจจุบันมีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอยู่เป็น จำนวนมากทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัยฯ โดยศาสตราจารย์พิเศษนายแพทย์อวย เกตุสิงห์ และคณะเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น อยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก กับ พระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ให้การอบรมศึกษาด้านการแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Facebook GooGle Plus YouTube Favorites More

 
Design by WordPress Themes | Bloggerized by BidDeal - Premium Themes | 08 222 82 651