วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การนวดลดอาการปวดบ่าและคอ


การนวดลดอาการปวดบ่าและคอ
 

      การนวดลดอาการปวดบ่าและคอ

ประโยชน์ของการนวด

ในปัจจุบันการนวดได้รับความนิยมเพราะเมื่อได้รับการนวดแล้วทำให้สุขภาพดีขึ้น (กรุงไกรเจนพาณิชย์. 2534ซ 40-41) ได้อธิบายไว้ดังนี้

1. ผลของการนวดไทย

มีผลดีต่อทุกระบบร่างกาย

1.1 เพิ่มการไหลเวียน : เลือดน้ำเหลือง

1.2 เพิ่มการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ สมอง, ระบบประสาท

1.3 ลดความเครียด ความกังวล

1.4 ลดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย ฯลฯ

2. คนไข้ได้ผลดีทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะ

2.1 อาการปวดเมื่อยตามตัวหายไป

2.2 กินได้ - นอนหลับ - ผ่อนคลายทั้งตัว

2.3 รู้สึกแจ่มใส หายปวดหัว วิงเวียน

2.4 ตาสว่าง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า

2.5 หายเหนื่อยเร็ว (หัวใจ ปอด)

2.6 ท้องเบาสบาย ไม่อึดอัด

2.7 หายใจเต็มอิ่ม มีความคล่องตัว ฯลฯ

2.8 การนำ "นวดไทย" มาประยุกต์ใช้ (ยามจำเป็น ลางเนื้อชอบลางยา)

2.9 การป้องกัน - กินไม่ได้ นอนไม่หลับ วิตกกังวล (เครียด) นวดถนอมสายตา

2.10 การรักษาอาการ - ปวดเมื่อย ปวดหัว มึนงง วิงเวียน นวดรักษา สายตา ฯลฯ

2.11 การรักษาสาเหตุ - ปวดข้อมือ ข้อไหล่ติด ตกหมอน หลังแข็ง ข้อ แพลง ฯลฯ

2.12 การพิเคราะห์แยกโรค - ปวดท้อง แน่นอก หายใจขัด ตามัว

2.13 การรักษาเร่งด่วน (ปัจจุบันพยาบาล) - ปวดกระเพาะ - ลำไส้, หอบเหนื่อย (หืด) ปวดหัวอย่างรุนแรง (ความดัน ไมเกรน) ฯลฯ

2.14 การฟื้นฟูสภาพ - เป็นโรคที่ทำให้ต้องนอนนาน ผู้ป่วยสูงอายุหลังหายจากหวัด ลดอาการท้องอืดหลังผ่าตัด ฯลฯ

2.15 การทำให้มีอายุยืน - ช่วยจัดการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้เหมาะสม ฯลฯ

2.16 ข้อสังเกต

2.17 การใช้สมาธิร่วมด้วยจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

2.18 ควรอนุรักษ์การนวดไทยและพัฒนาด้วยการค้นคว้าวิจัยต่อไปให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น

2.19 โปรดร่วมมือร่วมใจพัฒนาการนวดไทย ให้ข้อความต่อไปนี้เป็นจริงให้จงได้



อาการการปวดบ่าและต้นคอ

คอ ซึ่งมีลักษณะบอบบางกะทัดรัดเมื่อเปรียบเทียบกับศีรษะและลำตัวที่มันเชื่อม อยู่นี้ เป็นชุมทางใหญ่ของระบบประสาทจากสมอง ที่ควบคุมสั่งการไปยังส่วนของร่างกายทั้งหมดนับจากคอลงมา คอจึงมีหน้าที่สำคัญที่จะปกป้องคุ้มครองไขสันหลัง เส้นประสาทต่าง ๆ ที่ออกจากสมอง หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง รวมทั้งทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักของหัวกระโหลกและมันสมองซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ หนักและสำคัญที่สุดของคนเรา

เนื่องจากส่วนคอ ต้องทำหน้าที่ที่สำคัญ และยิ่งใหญ่ประกอบกับโครงสร้างที่บอบบางและละเอียดอ่อน ทำให้คอมีโอกาสได้รับความชอกช้ำหรือบาดเจ็บได้ง่าย และบ่อยมาก การปวดคอหรือบริเวณใกล้เคียง จึงพบได้มากรองลงมาจากภาวะปวดหลัง

การ บาดเจ็บของคอที่พบบ่อย และค่อนข้างมีอาการเจ็บปวดมาก คือ อาการคอแข็ง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ตกหมอน" ซึ่งเกิดเนื่องจากมีการเคลื่อนของข้อต่อกระดูก เพียงเล็กน้อยเป็นผลทำให้เอียงคอหรือเคลื่อนไหวศีรษะไปในทางใดทางหนึ่งไม่ ได้ และอาจมีการหดเกร็งแข็งของกล้ามเนื้อคอร่วมด้วย อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 2-3 วัน ภายหลังจากคอได้

"พักผ่อน" ตัวเอง โดยไม่ต้องรอว่าเจ้าของจะยอมอนุญาตหรือไม่ เพราะการที่คอไม่ยอมเคลื่อนไหวเลยก็เป็นการหยุดพักในตัวเบ็ดเสร็จอยู่แล้ว

สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย

1. อิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ

ใน กิจวัตรประจำวันที่กล้ามเนื้อของคอบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยล้าเกินไป เช่น คนที่ชอบยืนทำท่าหลังค่อม พุงยื่นจะทำให้คอต้องก้มมาข้างหน้ามาก ซึ่งพบได้บ่อยในคนอ้อนที่มีไขมันหน้าท้องมากและกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแอ การนั่งก้มหน้าก้มตาทำงานทั้งวัน เช่น งานนั่งโต๊ะเขียนหนังสือ งานเย็บจักร ซักผ้าหรือตรงกันข้าม พวกกรรมกรก่อสร้าง ช่างไม้ที่ต้องเงยหน้าทำงานอยู่นาน ๆ การเงยคออยู่ตลอดเวลาก็ทำให้ปวดคอได้เช่นกัน
การนอนในท่าที่นอนคอพับหรือบิดไปข้างใดข้างหนึ่ง นอนหนุนหมอนที่สูงเกินไป ฯลฯ จะทำให้ปวดคอหรือคอเคล็ดหลังจากตื่นนอนได้

2. ความเครียดทางจิตใจ

การ ดำรงชีวิตในปัจจุบันทำให้เกิดความเครียดได้ง่ายและได้มาก เช่น จากหน้าที่การงานที่ทำประจำ เศรษฐกิจที่รัดตัว ปัญหาชีวิตครอบครัว ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทำลายสุขภาพทางกายหรือใจ และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ฯลฯ อาจทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดการหดเกร็งมากและนานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอหรือปวดศีรษะบริเวณท้ายทอยภายหลังจากการทำงาน หรือมีปัญหาขัดแย้งดังกล่าว

3. ภยันตรายบริเวณกระดูกคอ

3.1 คอเคล็ดหรือยอก

ไม่ ว่าในขณะเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือทำงานตามปกติอาจเกิดเหตุบังเอิญทำให้คอต้องเคลื่อนไหวมาก หรือรวดเร็วรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งมีผลทำให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อต้องถูกยึดมากจนมีการฉีกขาดบางส่วน เกิดอาการปวดและกล้ามเนื้อหดตัวเกร็งในทิศใดทิศหนึ่ง ทำให้เคลื่อนไหวไม่ถนัด ภาวะที่ทำให้เกิดคอเคล็ดหรือยอกได้บ่อย ๆ ได้แก่ การนั่ง หรือยืนโหนรถเมล์ เมื่อรถหยุดกระทันหันคอจะถูกเหวี่ยงไปข้างหลังแล้วพับมาข้างหน้าอย่างแรง การยึดหรือก้มคอเพื่อมองหาของที่ตกใต้โต๊ะ ใต้เตียง ตลอดจนการหกล้มศีรษะถูกกระแทกทำให้คอพัก นอกจากนี้ที่พบได้บ่อยคือ การนอนบนหมอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ภายหลังจากตื่นนอนแล้วจะพบว่ามีอาการ "ตกหมอ " ได้

3.2 การบาดเจ็บของกระดูกคอ

อาจเกิดขึ้นได้จาก อุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น ตกจากที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำหรือชนกัน ฯลฯ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดคอรุนแรง หรือร่วมกับการบาดเจ็บส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยที่ใกล้ที่สุด ต้องระวังในขณะโยกย้ายผู้ป่วย อย่าพับคอผู้ป่วยหรือให้คออยู่ในท่าก้มศีรษะโดยเด็ดขาด ควรหาไม้กระดานรองรับส่วนศีรษะ คอ และทรวงอกให้อยู่ในท่านอนราบตรง ๆ มิฉะนั้นผู้ป่วยอาจถึงตายหรือเกิดอัมพาตของแขนขาทั้งสองข้างอย่างทันทีทันใด ได้ เนื่องจากกระดูกคอหักเคลื่อนที่ไปกดทับถูกไขสันหลังเข้า

4. ภาวะข้อเสื่อม

จาก ภาระหน้าที่ที่กระดูกคอต้องแบกตลอดเวลาตั้งแต่เด็กเมื่อเริ่มชันคอได้ ข้อต่อของกระดูกย่อมเสื่อมสภาพไปตามสังขารและความสมบุกสมบันในการใช้งาน การเสื่อมเกิดขึ้นได้ทั้งข้อต่อของหมอนรองกระดูกที่อยู่ด้านหน้าและที่อยู่ ด้านหลัง การเปลี่ยนแปลงของข้อเสื่อมคือ มีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกที่ขอบ ๆ ของข้อต่อ ซึ่งอาจไปกดทับถูกปลายประสาทที่ออกมาจากช่องระหว่างป้องกระดูกหรือการเสื่อม ของหมอนกระดูกเองที่เคลื่อนไปกดทับถูกไขสันหลังหรือเส้นประสาท

5. ข้ออักเสบ

โรค ข้ออักเสบเรื้อรัง บางชนิดจะทำให้ข้อต่อที่กระดูกอักเสบด้วย เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ผู้ป่วยมักปวดข้อรุนแรง ไม่ควรรักษาตนเอง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

6. กลุ่มอาการปวดเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

เป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดคอได้มากกว่าสาเหตุใด ๆ ดังกล่าวข้างต้น พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงวัยสูงอายุ โดยเฉพาะในวันสูงอายุ มักทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเกิดจากกระดูกคองอกไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งความจริงแล้วเกิดจากมีปัญหาหรือพยาธิสภาพที่กล้ามเนื้อบริเวณคอหรือ สะบักโดยตรง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป นอกจากจะมีอาการปวดคอแล้ว อาจมีอาการปวดมึนศีรษะร่วมด้วย หรือมีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน มือ และร่วมกับมีความรู้สึกชาที่แขนและปลายนิ้วมือ คล้ายกับเส้นประสาทถูกกดทับด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มกล้ามเนื้อที่มีปัญหา ซึ่งมีอาการแสดงแตกต่างกันออกไปของแต่ละ กลุ่มกล้ามเนื้อ



อาการและอาการแสดง

มี อาการปวดในกล้ามเนื้อและปวดมากขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อนั้นถูกใช้งานมากมีบริเวณ (โซน) ของการปวดร้าว พบจุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ เมื่อกดจะเจ็บมากขึ้นและอาจปวดร้าวได้ คลำพบพึงผืดลักษณะเป็นก้อน หรือแถบแข็งเป็นลำ บริเวณจุดกดเจ็บ อาจพบว่ามีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อใกล้เคียง และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้

การรักษาตนเองเมื่อมีอาการปวดคอ

1. สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอหรือคอแข็งอย่างเฉียบพลัน หลังจากการเอี้ยว บิดผิดท่าหรือภายหลังการตื่นนอน

- พยายามพักผ่อนให้มาก ทางที่ควรหาโอกาสนอนราบชั่วคราว เพราะจะทำให้คอไม่ต้องแบกน้ำหนักของศีรษะ

- กินยาแก้ปวด ถ้าปวดไม่มากอาจกินยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือถ้าปวดมากให้กินแอสไพริน ขนาด 300 มิลลิกรัม 2-3 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยไม่เกิน 12 เม็ดต่อวัน ต้องกินยาพร้อมกันกับหรือหลังอาหารทันที อาจกินควบกับยาลดกรด เช่น อัลมาเจล อะลั่มมิลค์ ฯลฯ อาการปวดจะทุเลาลงภายใน 2 ชั่วโมง บางครั้งกินยาเพียง 1-2 วัน อาการก็จะหายสนิท หยุดยาได้

- การประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำร้อนในระยะแรกอาจใช้น้ำแข็งทุบใส่ถุงพลาสติกห่อ ผ้าขนหนูบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบประมาณ 10-15 นาทีก็ได้ จะบรรเทาอาการปวดได้

- การดัดยืดกระดูกคอด้วยตนเอง ใช้สองมือประสานกันที่บริเวณท้ายทอย ค่อย ๆ ออกแรงดัดกระดูกคอในท่าก้มหรือดัดในท่าก้มร่วมกับบิดศีรษะไปในทิศทางที่หัน ไปไม่ได้เต็มที่ ทำเป็นจังหวะอย่างช้า ๆ จนรู้สึกเจ็บเสียวเล็กน้อย แล้วค้างไว้ประมาณ 30 วินาที ทำชุดละ 5-10 ครั้ง วันละ 3 ชุด ภายหลังการดัดยืดแล้วอาการเจ็บปวดจะลดลงการเคลื่อนไหวคอจะมากขึ้นแล้วจะหาย ดีภายใน 3 วัน

- การใส่ปลอกคอ มักไม่มีความจำเป็น ยกเว้นในรายที่ปวดมากจริง ๆ กินยาแล้วยังไม่ทุเลาอาจทำปลอกคอง่าย ๆ โดยใช้ผ้าขนหนูขนาดกลางพับเป็นแถบกว้าง 3-4 นิ้ว พันรอบคอแล้วใช้เข็มกลัดซ่อนปลายกลัดให้แน่นพอที่จะกันไม่ให้ก้มหรือตะแคงคอ ได้ แต่ต้องไม่แน่นมากจนอึดอัดหายใจไม่สะดวก

- การยึดกล้ามเนื้อ ท่านต้องทราบว่ากล้ามเนื้อมัดใดที่มีปัญหา
โดยคำขอปรึกษาจากนักกายภาพบำบัดแล้วค่อย ๆ ยืดเนื้อเยื่อไปตามความยาวของกล้ามเนื้อ
ยืดค้างนาน 10-20 วินาทีแล้วพัก ทำชุดละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 ชุด

- หลีกเลี่ยงการใช้งานหลักของกล้ามเนื้อมัดที่มีปัญหา
หรือท่าทางที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น

ลำดับการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อจนอวัยวะไม่สามารถทำงานได้

การออกแรงทำงานกล้ามเนื้อทำงานซ้ำซากหรือทำงานนานเกินไป

กล้ามเนื้อล้า

มีการสะสมของเสียในกล้ามเนื้อ

การขาดโลหิตหล่อเลี้ยงทำให้บวม ร้อน
ปวดกล้ามเนื้อ

ปวดเกร็ง

ข้อต่อเคลื่อนไหว

ไม่สะดวก
1. ปฏิกิริยาของใยกล้ามเนื้อ

2. การหดตัวของกล้ามเนื้อ

3. ข้อต่อเคลื่อนไหวลำบาก

4. ลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

5. เอ็นเคลื่อนไหวลำบาก
อวัยวะส่วนนั้นไม่สามารถใช้งานได้อาการปวดศีรษะ

การ ปวดศีรษะ เป็นอาการป่วยอย่างหนึ่งซึ่งแพทย์มักจะได้รับคำบอกเล่าจากคนไข้บ่อยที่สุด เป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยปราศจากโรคร้ายแรง แต่สามารถคุกคามต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ (Diamond, Solomon, Frietag 1989:249) ปวดศีรษะ หมายถึง ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับหน้าผากขึ้นไป อาจเป็นอาการตึง ๆ หนัก ๆ มึนงงจนถึงปวดศีรษะ และมักจะรวมความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและต้นคอ อาการปวดศีรษะมีอยู่หลายชนิดและหลายรูปแบบเป็นอาการแสดงของโรค แต่มิใช่ตัวโรคสามารถเป็นผลมาจากการได้รับบาดเจ็บ การเปลี่ยนแปลงของสารฮอร์โมน ฯลฯ (ลีออน ไซเทา 2537:8) นิพนธ์ พวงวรินทร์ (2533) ได้จำแนกสาเหตุของอาการปวดศีรษะไว้เป็นกลุ่ม ๆ ดังนี้

1. ปวดศีรษะจากเส้นเลือด (Vascular headache) เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะที่พบบ่อยได้แก่ ไมเกรน (Migraine) กลุ่มอาการปวดศีรษะ (cluster headache) เป็นต้น

2. ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว ความเครียด (muscle contration headache, tension headache) เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะในประชาชน ทั่วไป

3. ปวดศีรษะจากการบาดเจ็บของศีรษะ (headache associated with head trauma)

4. ปวดศีรษะจากความดันในสมองเพิ่มขึ้น (meningeal irritation type of headache)

5. ปวดศีรษะจากความดันในสมองเพิ่มขึ้น (increase intracranial pressure type of headache)

6. ปวดศีรษะจากการติดเชื้อ (headache associated with systemic of focal infetion)

7. ปวดศีรษะจากโรคตา หู จมูก ฟัน และอวัยวะในช่องปาก เช่น ต้อหินเฉียบพลัน โพรงอากาศอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น

8. ปวดศีรษะจากประสาทอักเสบ (cranial neuralgia) จะมีอาการปวดเฉพาะเหมือนถูกไฟดูดหรือถูกลวดไฟเผา จะปวดช่วงสั้น ๆ เป็นวินาทีในแต่ละครั้ง

9. ปวดศีรษะจากภาวะจิตใจ (psychogeicheadache) เกิดจากสาเหตุทางจิตใจ ไม่สามารถปรับชีวิตให้เข้ากับสังคม สิ่งแวดล้อมได้

10. ปวดศีรษะจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะจากการไอ จากการได้รับยาบางอย่างจากการขาดออกซิเจน เป็นต้น

กลไกการปวดศีรษะจากความเครียดความ เครียดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ โดยเป็นสิ่งที่อยู่ในร่างกายและจิตใจเป็นเวลานานซึ่งจะกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ หดตัวโดยตรง หรือกระตุ้นเส้นเลือดให้หดตัวในกรณีร่วมกับไมเกรนซึ่งมีผลส่งเสริมให้การปวด ศีรษะยังคงอยู่ต่อไป

อาการปวดศีรษะจากความเครียดเป็นอาการผิดปกติทาง กายที่มีสาเหตุมาจากจิตใจเนื่องจากความถี่ ความรุนแรง และระยะเวลาที่ปวดศีรษะมีความสัมพันธ์กับความเครียด (Gannon et al. 1981 : 272) เมื่อบุคคลเกิดความเครียดจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิต อารมณ์ โดยมีกลไกคือสิ่งก่อความเครียด เช่น ความคับข้องใจ ความวิตกกังวลจะกระตุ้นประสาทการรับรู้ (sensory receptors) จะมีสัญญาณประสาทส่งผ่านไปยังสมองส่วนคอร์เท็กซ์ (cerebral cortex) ซึ่งทำหน้าที่แปลผลสิ่งก่อความเครียด และทำให้มีการตอบสนองทางด้านพฤติกรรม นอกจากนั้นบริเวณของด้านบนของสมองส่วนคอร์เท็กซ์ มีการเชื่อมต่อกับระบบลิมบิค (limbic system) ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่มีหน้าที่ตอบสนองต่อความเครียดทางด้านอารมณ์ และเชื่อมติดต่อกับ เรติคิวลาร์ฟอร์เมชั่น (reticular formation) ซึ่งควบคุมระบบของการตื่นตัวดังนั้น แรงกระตุ้นหรือสัญญาณประสาทจากสมองส่วนคอร์เท็กซ์จะถูกส่งมายังระบบลิมบิค ก่อให้เกิดการตอบสนองด้านอารมณ์และส่งต่อไปยังไฮโบธาลามัส ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากนี้ไฮโปธาลามัส ยังเชื่อมต่อกับต่อมพิทูอิตารี ซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (Boore, et al. 1987 : 162)

ผลของความเครียดต่อการเปลี่ยนแปลงทาง สรีระซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นสมองส่วนคอร์เท็กซ์ ทำให้ร่างกายมีการเตรียมพร้อมโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย และการกระตุ้นไอโปธาลามัสกับต่อมพิทูอิตารีทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนอิพิเนฟ รินจากต่อมหมวกไตชั้นในเข้าสู่กระแสเลือดเพิ่มมากขึ้นทำให้หลอดเลือดที่มา เลี้ยงกล้ามเนื้อลายหดลง (Boore,et al. 1987:166) เมื่อกล้ามเนื้อลายหดตัวจะทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อนั้นถูกกดให้ ตีบตันร่วมกับการหดตัวของหลอดเลือดเองด้วย ทำให้ปริมาณ การไหลเวียนของโลหิตมายังกล้ามเนื้อดังกล่าว ลดลงเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนลดลงไปด้วย ในขณะที่การเผาผลาญเพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อของร่างกายจึงเกิดการเผาผลาญ แบบไม่ใช้ออกซิเจน ยังผลให้มีกรดแลคติคสะสมอยู่ในบริเวณกล้ามเนื้อและเกิดภาวะกรดเฉพาะที่ กรดแลคติคที่เกิดขึ้นจะไปกระตุ้นปลายประสาท รับความรู้สึกเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นเนื้อเยื่อที่ขาดออกซิเจนจะปล่อยสารแบรดี้ไคนินและฮีสตามีน ทำให้เนื้อเยื่อไวต่อความเจ็บปวดมากขึ้น (อุดม ปุณยทรรพ 2524 : 28) ดังที่กล่าวมาแล้วว่าระบบลิมบิคมีหน้าที่ควบคุมด้านอารมณ์ภาวะเครียดที่เกิด ขึ้นนอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้มีการตอบสนองทางด้านสรีระแล้ว ยังมีการกระตุ้นระบบลิมบิคทำให้มีการตอบสนองในด้านอารมณ์ร่วมด้วย เช่น ความโกรธ ความกลัว และความวิตกกังวล เป็นต้น (Boore , et al.1987:166) ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะรุนแรงขึ้นโดยที่ความกลัว และความวิตกกังวัลต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเกิดการตอบสนอง โดยการเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นได้ และเมื่อเกิดความเจ็บปวดจะเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ โดยมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเป็นผลให้ความเจ็บปวดยิ่งเพิ่มขึ้น ความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้นก็มักทำให้เกิดความวิตกกังวล ถ้ามีมากการตอบสนองต่อความเจ็บปวดก็มากตามไปด้วย

ผู้ป่วยที่มีอาการ ปวดศีรษะจากความเครียดนั้น สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดมีอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความกดดันทางจิตใจสูง หรืออยู่ในเหตุการณ์ที่ไม่สงบสุขเป็นประจำมีการเกร็งของกล้ามเนื้อจนกลาย เป็นพฤติกรรมที่ประพฤติจนเป็นนิสัย และเมื่อมีเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล ด้วยแล้วกล้ามเนื้อที่เคยเกร็งก็จะถูกทบกระเทือนได้ง่ายขึ้นไปอีก ทำให้อาการปวดศีรษะเพิ่มความรุนแรงขึ้น (วัลลภ ปิย มโนธรรม 2528 : 77) จะเห็นได้ว่าแต่ละองค์ประกอบมีส่วนทำให้อาการปวดศีรษะเพิ่มขึ้นและเกิดเป็น วงจรต่อเนื่องกันไป ดังนั้นวิธีบรรเทาความเจ็บปวดมีหลักการอยู่ที่ว่า การตัดวงจรใดวงจรหนึ่งมีผลลดความเจ็บปวดลงได้ (McCaffery 1979 : 250) สำหรับการนวดเป็นการตัดวงจร A ตรงบริเวณ a ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดไม่ตีบตันซึ่งจะส่งผลให้ไม่เกิดอาการปวดศีรษะ



โรคปวดศีรษะ (ลมปะกังเป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยมากในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน)ปวดศีรษะข้างเดียว มี 2 ชนิด คือ

1. ปวดศีรษะ มีอาการอาเจียนร่วมด้วยมักเป็นลมบ่อย ๆ รักษายาก

2. ปวดศีรษะ ไม่มีอาเจียนร่วมด้วย

สาเหตุ เกิด จากมีเลือดแข็งตัวทำให้การส่งน้ำเลี้ยงขึ้นสมองไม่ได้ดีมีอาการ อาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็น ๆ หาย ๆ มีเหตุส่งเสริมให้เป็นหลายอย่าง เช่น ภาวะเครียด ในสตรีอาจมีอาการก่อนมีรอบเดือน

การรักษา นวดพื้นฐาน (นวดไต่หลังท่าหนุมานถวายแหวน) เพื่อส่งน้ำเลี้ยงขึ้นสมอง นวดพื้นบ่า กดจุดสัญญาณ 4 สัญญาณ 5 หลัง และ สัญญาณ 1-5 ศีรษะด้านหลัง

คำแนะนำ

1. การพักผ่อนให้เพียงพอ

2. ลดความเครียด หากิจกรรมทำ

3. ออกกำลังกาย

4. การประคบน้ำร้อน

การประคบด้วยน้ำร้อน

มนุษย์ รู้จักการนำความร้อนมาใช้บำบัดร่างกายตั้งแต่อดีตกาล เช่น การอาบน้ำพุร้อน ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากการตรากตรำทำงานหนักหรือช่วยบรรเทาอาการ ปวดข้อที่เกิดจากกล้ามเนื้อถูกใช้งานมากเกินไป ดัง (กันยา ปาละวิวัธน์. 2537 : 1-9) อธิบายไว้ดังนี้

ผลของความร้อนต่อร่างกาย

1. ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัว เป็นเหตุให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น นำสารอาหารต่าง ๆ รวมทั้งออกซิเจนมาให้เซลล์

2. ความร้อนที่สูงขึ้นจะช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ภายในเนื้อเยื่อ

3. เร่งการทำงานของต่อมเหงื่อให้มากขึ้นเพื่อขับถ่ายความร้อนออกไป ซึ่งทำให้ร่างกายขับสารบางอย่างที่อยู่ในเหงื่อออกไปด้วย เช่น น้ำ เกลือแร่ ยูเรีย และกรดไขมันบางจำพวก

4. ช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น

5. ช่วยให้พังผืดยืดตัวออก

6. ความร้อนน้อย ๆ จะมีผลต่อปลายประสาทสัมผัส ทำให้รู้สึกสบายขึ้นลดความเจ็บปวด

ข้อควรระวัง

จาก การทดลองพบว่า เมื่อให้ความร้อนรักษา ส่วนของแขนขา จะทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังระบบทางเดินอาหารลดลง และการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนน้ำหลั่งต่าง ๆ น้อยลงด้วย

เพราะ ฉะนั้นไม่ควรให้ความร้อนแก่ส่วนของแขนขาเป็นบริเวณกว้างและนานภายหลัง รับประทานอาหารใหม่ ๆ เนื่องจากจะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงาน ลดลงทำให้เกิดท้องอืดท้องเฟ้อได้

สำหรับท่านชายคือ อย่าแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้ท่านเป็นหมันชั่วคราวได้ เนื่องจากต่อมอัณฑะจะไม่ทำงาน เมื่ออยู่ในอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน ๆ



ประโยชน์ของการประคบน้ำร้อน

มีคนจำนวนมากที่ไม่รู้จักคุณค่าของการประคบน้ำร้อน ดัง (โรงเรียนอายุรเวท. 2535 : 23) อธิบายไว้ดังนี้

1. ลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

2. ทำให้กล้ามเนื้อคลายความเกร็งตัว

3. ลดการอักเสบต่าง ๆ

4. บรรเทาอาการปวด



ขั้นเตรียมอุปกรณ์

1. น้ำต้มเดือด

2. ขันอะลูมิเนียม หรือภาชนะกันความร้อนพร้อมที่รองภาชนะ

3. ผ้าขนหนูผืนเล็ก 1 ผืน



วิธีการประคบน้ำร้อน

1. ต้มน้ำให้เดือดเทลงในขันอะลูมิเนียม หรือภาชนะที่เตรียมไว้

2. ใช้ผ้าขนหนูจุ่มน้ำเย็นบิดให้แห้งพอหมาด ๆ แบ่งผ้าออกเป็น 3 ส่วน

3. จุ่มผ้าส่วนที่ 1 ลงในน้ำร้อน แล้วพับผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้วนำผ้าไปประคบส่วนที่ต้องการ

4. ทำเหมือนข้อ 3 คือ จุ่มผ้าส่วนที่ 2, 3

5. ประคบน้ำร้อนแต่ละส่วนนาน 1-2 นาที ทำซ้ำกันจนกระทั่งน้ำเย็น 3-5 นาที

ข้อควรระวัง

1. อย่าให้ผ้าร้อนเกินไป จะทำให้บริเวณที่ถูกประคบความร้อนพอง ควรจะทดสอบกับท้องแขนก่อนประคบส่วนที่ต้องการ

2. ผู้เป็นโรคเบาหวาน อัมพาต ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ควรระมัดระวังให้มากอาจเกิดแผลพอง เพราะความรู้สึกช้า



ท่ากายบริหาร

การออกกำลังกายหรือการทำท่าบริหาร สามารถป้องกันและบรรเทาอาการปวดคอได้ ดัง (สุรศักดิ์ ศรีสุข. 2538 : 24-25) อธิบายไว้ดังนี้

1. การออกกำลังกายให้คอเคลื่อนไหวได้ดี

การออกกำลังคอที่จะกล่าวถึงนี้ แต่ละท่าทำ 5-10 ครั้ง วันละ 2-3 เวลา

ก้ม และเงยหน้า ค่อย ๆ ก้มหน้าให้คางจรดกับอก แล้วเงยช้า ๆ ให้มากที่สุด ตะแคงซ้ายขวา หน้าตรง ๆ ค่อย ๆ ตะแคงซ้าย พยายามให้หูจรดไหล่ซ้าย โดยไม่ยกไหล่ขึ้น กลับที่เดิม แล้วค่อย ๆ ตะแคงให้หูขวาในลักษณะเดียวกัน

หัน หน้าซ้ายขวา หมุนศีรษะหันหน้าไปทางซ้ายช้า ๆ โดยพยายามให้ปลายคางอยู่ในแนวเดียวกับไหล่ซ้าย แล้วหมุนศีรษะกลับมา และไปยังด้านตรงข้ามเช่นกัน

2. การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การออกกำลังคอชุดนี้ ควรทำหลังจากท่านทำท่าออกกำลังชุด
ก. ได้โดยไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ มีวิธีการทำคล้ายคลึงกับชุด ก. เพียงแต่ให้ใช้มือต้านการเคลื่อนไหวของศีรษะในทิศทางตรงกันข้าม (แรงต้านพอประมาณ) เกร็งไว้ 5-10 วินาที แล้วพัก แต่ละท่าทำ 5-10 ครั้ง วันละ 2-3 เวลา

ก้มคอ ใช้มือกดที่หน้าผากต้านกับความพยายามที่จะก้มศีรษะลง

เงยหน้า เอาฝ่ามือประสานเหนือท้ายทอย กดมาด้านหน้า ขณะที่ท่าพยายามจะเงยศีรษะไปข้างหลัง

ตะแคงคอ ใช้มือซ้ายวางที่ศีรษะเหนือหูซ้าย ต้านกับความพยายามที่ท่านจะตะแคงหน้าให้หูซ้ายไปจรดไหล่ ใช้มือขวาวางที่ศีรษะเหนือหูขวาทำแบบเดียวกัน

หันหน้า ใช้มือซ้ายออกแรงยันที่หน้าหูซ้ายขณะที่พยายามหันหน้าไปทางซ้ายแล้วทำสลับกันโดยใช้มือขวายันหน้าหูขวาขณะที่หันหน้าไปทางขวา 



 อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ

โปรโมชั่น เรียนนวดไทย เรียนจัดกระดูก 2013

สำหรับท่านที่สนใจเรียนนวดไทย และจัดกระดูก สามารถลงชื่อ ได้จากแบบฟอร์มในติดต่อเรา
เพื่อจองคิวเรียนได้ หากว่า คอร์สใดสามารถเปิดสอนได้เราจะโทรไปแจ้ง วัน เวลา และสถานที่เรียนค่ะ

ตอนนี้เราเปิดสอนนวดจัดกระดูก แบบกลุ่มเล็ก ประมาณ 6 ท่าน ค่ะ
ค่าเรียน ท่านละ 15,000 บาท ค่ะ

สามารถโทรสอบถามได้ ที่ เบอร์ 085 251 8787

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของการนวดไทย

ประเภทของการนวดไทย

ประเภทของการนวดไทย มี ๒ ประเภท คือ
๑. การนวดแบบทั่วไป (แบบเชลยศักดิ์)
ปัจจุบัน มีการเรียนการสอนการนวดแบบทั่วไปตามสถาบันการศึกษาโดยผู้เรียนสามารถสมัคร เรียนได้โดยตรง โดยไม่มีการสอนคัดเลือก อัตราค่าเรียนขึ้นอยู่กับสถานศึกษาจะกำหนด ซึ่งจะมีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว อาจเรียนเฉพาระวันหยุดราชการหรือทุกวันตามแต่จะตกลงกัน การเรียนการสอนโดยทั่วไปเป็นการสอนตัวต่อตัวกับครูหรือศิษย์รุ่นพี่ โดยใช้การสาธิตและฝึกปฏิบัติ เนื้อหาการเรียนการสอนมักเป็นการเล่าประสบการณ์ของครูและสอนกายวิภาคศาสตร์ แแบโบราณบ้าง พร้อมทั้งอบรมจริยธรรมโดยถือ หลักศีลธรรมเป็นสำคัญ สำหรับการเริ่มต้นเรียนอาจไม่พร้อมกัน แต่เมื่อครบกำหนดการเรียนของศิษย์ ครูผู้สอนจะทดสอบผลการเรียนด้วยตนเองโดยให้ศิษย์ทดลองนวดครู หากทำได้ดี ถูกต้อง ครูจะออกใบรับรองให้ ถ้ายังทำได้ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ก็จะให้เรียนและฝึกหัดเพิ่มเติมต่อไป
๒. การนวดแบบราชสำนัก
มีการ เรียนการสอนสืบต่อกันมาเช่นเดียวกับการนวดแบบทั่วไป แต่อาจารย์ผู้สอนจะเลือกศิษย์จากผู้สมัครเข้าเรียนตั้งแต่การสัมภาษณ์ เพื่อศึกษาภูมิหลังของผู้ที่จะมาเป็นศิษย์ ดูนิสัยใจคอ รูปร่าง ท่าทาง ว่าพอที่จะเรียนได้หรือไม่ ถ้าเห็นว่าจะเรียนไปไม่ได้ตลอดก็จะไม่รับเสียแต่แรก แต่หากไม่แน่ใจก็จะให้ผู้สมัครทดลองฝึกฝนกำลังกายไปพลางๆ ก่อน ถ้าผู้เรียนขาดความอดทน ก็จะเลิกรากันเอง ส่วนผู้ที่ผ่านการทดสอบแล้ว ครูจะดำเนินการสอนเป็นขั้นตอนต่อไป วิธีการสอนจะใช้การสาธิต ฝึกปฏิบัติ พร้อมกับทดสอบผลการเรียนเช่นกัน เนื้อหาวิชาจะเริ่มตั้งแต่จรรยามารยาทในการเข้าหาผู้ป่วย หลักการนวดเบื้องต้นทั้งตัว กายวิภาคศาสตร์แบบโบราณ การวางมือในการนวดที่ตำแหน่งต่างๆ การใช้แรงในการนวด และระยะเวลาในการกด-ปล่อยมือที่นวด ความเหมาะสมกับตำแหน่งและโรคที่จะรักษา รวมทั้งประสบการณของครูจะเป็นสาระสำคัญนอกจากนี้ต้องไม่ทำการนวดคนไข้ที่มี แพทย์เจ้าของไข้อยู่แล้ว เพราะเป็นการก้าวก่ายกัน และไม่ทำการนวดในสถานที่อโคจรอื่นๆ เช่น โรงแรม โรงน้ำชา สถานเริงรมย์ บ่อนการพนัน ฯลฯ แต่อาจไปนวดที่บ้านผู้ป่วยได้หากมีความจำเป็น แต่นิยมมากที่สุดคือ นวดที่บ้านของหมอเอง

สำหรับการสอนการนวดไทยสายราชสำนัก มี ๔ ขั้นตอนคือ
๑. การนวดพื้นฐาน
๒. การกดจุด
๓. ทฤษฎีและการรักษาโรค
๔. การใช้วิธีนวด เทคนิค
เมื่อ มีการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ต้องมีการฝึกปฏิบัติเพื่อให้นักศึกษาตรวจและรักษาโรค แต่หลักสูตรจะกล่าวถึงหลักพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ ขั้นตอนต่อๆไปคงต้องจัดอบรมในระยะต่อๆไปการเรียนการสอนนวดแบบราชสำนักนี้ ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนจนมีฝีมือ เข้าใจหลักและวิธีการนวด การแต่งรสมือ และการรักษาโรคต่างๆ อาจต้องใช้เวลานาน ๓ - ๕ ปี ติดต่อกัน (แล้วแต่สติปัญญา ไหวพริบ และความสามารถของผู้เรียน) แล้วครูจะให้ผู้เรียนทำการนวดผู้ป่วยในสำนักของครู โดยครูจะเป็นผู้ตรวจและสั่งงาน เป็นการนวดภายใต้การดูแลของครู หากมีข้อบกพร่อง ครูจะคอยแนะนำแก้ไข ระยะเวลาช่วงนี้อาจใช้เวลาเป็นปี จนครูแน่ใจว่าศิษย์มีความรู้ความสามารถและมีจรรยาพอที่จะรักษาผู้ป่วยได้ สำหรับศิษย์ที่จะทำการสอนนักเรียนใหม่ได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากครูเสียก่อน ซึ่งจะประกาศในพิธีไหว้ครูประจำปี จะทำการสอยเองโดยพลการไม่ได้ ถือว่าผิดจรรยาและไม่เคารพครู แต่ในขณะนี้มีการเรียนการสอนที่โรงเรียนอายุรเวท ซ. ราชครู กรุงเทพฯ ,สถาบันบรมราชชนก, สถาบันราชมงคล ปทุมธานี มหาวิทยาลัยมหาสารคามและสถาบันอื่นๆ อีก ซึ่งถือว่าเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ และทำให้วิชานี้ได้รับการยอมรับสูงขึ้น โดยไม่ยึดติดกับตัวบุคคล และผูกขากความชอบธรรมแต่เพียงผู้เดียว และจะต้องไปสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะก่อน จึงจะสามารถเปิดสถานพยาบาลได้ถูกต้องตามกฎหมาย

การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย
ประวัติ การแพทย์แผนโบราณเริ่มมีการบันทึกไว้ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล มีชายผู้หนึ่งชื่อชีวกโกมารภัจจ์มีความสนใจในการศึกษาวิชาแพทย์ เป็นวิชาที่ประกอบอาชีพไม่เบียดเบียนผู้ใด เป็นผู้ปฏิบัติประกอบด้วยเมตตากรุณาเกื้อกูลแก่ความสุขของมนุษย์ จึงได้ศึกษาวิชาแพทย์ในสำนักแพทย์ผู้ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักศิลา ท่านเป็นผู้ที่ฉลาด สามารถในการศึกษา เรียนได้มาก เรียนได้เร็ว ทรงจำได้เร็ว ทรงจำได้ดี ไม่หลงลืม สามารถรักษาคนไข้หนเดียวก็หายได้ ในเวลาต่อมาพระเจ้าพิมพิสารประชวรเป็นโรคพระภคันทละ คือโรคริดสีดวงทวาร ทรงโปรดให้หมอชีวกเข้าไปถวายการรักษา หมอชีวกถวายการรักษาด้วยการทายาเพียงครั้งเดียว พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงหายโรค จึงโปรดให้เป็นแพทย์หลวงบำรุงพระองค์และฝ่ายใน กับบำรุงพระสงฆ์ นับว่าหมอชีวกเป็นแพทย์ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมีชื่อเสียงในครั้งพุทธกาล และมีผู้เคารพยกย่องอย่างมาก
ยุคก่อนอาณาจักรสุโขทัย
การค้นพบศิลา จารึกอาณาจักรขอมประมาณปี พ.ศ. ๑๗๒๕ - ๑๗๒๙ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยการสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลาขึ้น ๑๐๒ แห่ง ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในบริเวณใกล้เคียง กำหนดผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาลไว้อย่างชัดเจนได้แก่ หมอ พยาบาล เภสัช ผู้จดสถิติ ผู้ปรุงยาและอาหาร รวม ๙๒ คน มีพิธีกรรมบวงสรวงพระไภสัชยคุรุไวทูรย์ประภาตามความเชื่อตามศาสนาพุทธลัทธิ มหายาน ด้วยการบูชา ยาและอาหารก่อนแจกจ่ายผู้ป่วย ปัจจุบันมีอโรคยศาลาที่ยังเหลือประสาทที่สมบูรณ์ที่สุดคือ กู่บ้านเขวา จังหวัดมหาสารคราม
สมัยสุโขทัย
การค้นพบหินบดยาสมัยทวารวดีซึ่งเป็น ยุคก่อนสมัยสุโขทัย และจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงได้บันทึกไว้ว่าทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาด ใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยาเพื่อให้ราษฎรได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยาม เจ็บป่วย ปัจจุบันผู้เขาดังกล่าวอยู่ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
สมัยอยุธยา
การ แพทย์มีลักษณะผสมผสานปรับประยุกต์องค์ความรู้จากแพทย์พื้นบ้านทั่วราชอณา จักร ผสมกลมกลืนกับความเชื่อตามปรัชญาแนวพุทธ รวมทั้งความเชื่อทางไสยศาสตร์และโหรศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน การแพทย์แผนไทยมีเป้าหมายที่สภาวะสมดุลของธาตุ ๔ อันเป็นองค์ประกอบของชีวิต
ใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบบันทึกว่ามีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับประชาชนที่มีแห่งจำหน่ายยาและ สมุนไพรหลายแห่งทั้งในและนอกกำแพงเมือง มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทยเรียกว่าตำราพระโอสถพระ นารายณ์ การแพทย์แผนไทยในสมัยนี้รุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะการนวดไทย การแพทย์ตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยมิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศสได้จัดตั้ง โรงพยาบาลรักษาโรคแต่ก็ขาดความนิยมและล้มเลิกไป
ระหว่างเสียกรุงพม่าได้ เข้าโจมตี ๒ ครั้ง บ้านเมืองถูกทำลาย ประชาชน ราชวงศ์กษัตริย์ ขุนนาง และนักโทษจำนวนมากถูกกวาดต้อนไปยังพม่า ซึ่งอาจมีหมอแผนโบราณรวมอยู่ในกลุ่มเหล่านี้ และตำรารวมถึงคัมภีร์เก่าๆ ก็อาจถูกทำลายไปด้วย
สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ ๑
พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวง ให้ชื่อว่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายาฤาษีดัดตน และตำรานวดไทยไว้ตามศาลาราย สำหรับการจัดหายาของทางราชการ มีการจัดตั้งกรมหมอ โรงพระโอสถคล้ายกับสมัยอยุธยา ผู้รับราชการเรียกว่า หมอหลวง ส่วนหมอที่รักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่า หมอราษฎรหรือหมอเชลยศักดิ์
สมัยรัชกาลที่ ๒
พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นว่าคัมภีร์แพทย์ ณ โรงพระโอสถสมัยอยุธยาสูญหายไป จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เหล่าผู้ชำนาญลักษณะโรคและสรรพคุณยา
รวม ทั้งผู้ที่มีตำรายาดีนำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ให้กรมหมอหลวงคัดเลือกและจดเป็นตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ พ.ศ. ๒๓๕๙ มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตรากฎหมายชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย
สมัยรัชกาลที่ ๓
พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนโปรดเกล้าฯให้จารึกตำรายาไว้บนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามผนังโบสถ์และศาลารายในบริเวณวัด ศิลาจารึกนี้เป็นตำราบอกสมุฏฐานของโรค วิธีการรักษา และได้จัดหาสมุนไพรที่ใช้ปรุงยาและหาได้ยาก มาปลูกไว้ในวัดเป็นจำนวนมากนับเป็นการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอีกรูปแบบ หนึ่ง มิได้จำกัดเพียงในวงศ์ตระกูลเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้รับสั่งให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสาราม ได้จารึกตำราในแผ่นศิลาตามเสาระเบียงพระวิหาร รัชสมัยนี้มีการนำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่โดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ ซึ่งคนไทยเรียกว่าหมอปลัดเลย์ นำวิธีการแพทย์แบบตะวันตกมาใช้ เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น นับเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันตก
สมัยรัชกาลที่ ๔
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้ เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถให้ประชาชนเปลี่ยนความนิยมได้ เพราะการรักษาพยาบาลแผนไทยเป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตคนไทย
สมัยรัชกาลที่ ๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ มีการจัดตั้งศิริราชพยาบาล มีการเรียนการสอนและให้การรักษาทั้งการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกัน หลักสูตร 3 ปี การจัดการเรียนการสอนบริการทางแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกันเป็นไปด้วย ความยากลำบากและขัดแย้งระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเป็นอย่างมาก ด้วยหลักการแนวคิดและวิธีการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ทำให้ยากที่จะผสมผสานกันได้ มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนการแพทย์ครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ - ๔ ได้รับยกย่องให้เป็นตำราขึ้นมาใหม่ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทย์แผนศาสตร์สังเขป (เวชศึกษา) 3 เล่ม ซึ่งยังคงใช้เป็นคัมภีร์ทางการแพทย์มาจนทุกวันนี้
สมัยรัชกาลที่ ๖
พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวปี พ.ศ.๒๔๕๖ มีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๔๖๖ มีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อเป็นการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจุเกิดกับประชาชนอันเนื่องมาจากการประกอบการของผู้ ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัด ด้วยความไม่พร้อมในด้านการเรียนการสอน การสอบ และการประชาสัมพันธ์ ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากกลัวถูกจับจึงเลิกประกอบอาชีพนี้ บ้างก็เผาตำราทิ้ง จะมีหมอแผนโบราณเพียงจำนวนหนึ่งจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติได้ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว นับเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรคำนึงถึง
สมัยรัชกาลที่ ๗
กฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ และกำหนดว่า
๑) ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิชาโดยสากลนิยมซึ่งดำเนิน และจำเริญขึ้น โดยอาศัยการศึกษา ตรวจค้น และทดลองของผู้รู้ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
๒) ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความสังเกต ความชำนาญ อันได้สืบต่อมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราอันมีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์
สมัยรัชกาลที่ ๙
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดชมหาราช ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการจัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ ได้ก่อตั้งขึ้นที่วัดโพธิ์ กรุงเทพ นับแต่นั้นสมาคมได้แตกสาขาออกไป ปัจจุบันมีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอยู่เป็น จำนวนมากทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัยฯ โดยศาสตราจารย์พิเศษนายแพทย์อวย เกตุสิงห์ และคณะเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น อยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก กับ พระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ให้การอบรมศึกษาด้านการแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน

นวดกดจุด นวดแก้อาการ นวดบำบัดโรค ด้วยการนวดเท้า


นวด ฝ่าเท้า มิเพียงเพื่อผ่อนคลาย และสร้างเสริมสุขภาพ นวดฝ่าเท้าถ้าศึกษาให้ลึกด้วยการแพทย์ผสมผสานยังรักษาโรคได้อีกด้วย ก่อนอื่นทำไมนวดฝ่าเท้าจึงมีบทบาทไปถึงอวัยวะภายในได้ ทั้งๆ ที่เราเพียงแตะต้องกันที่ผิวกายภายนอกที่ส่วนปลายสุดของร่างกาย คือ ฝ่าเท้าทั้งสองเท่านั้น

ปัจจุบันทฤษฎีที่อธิบายเรื่องนี้ได้น่าฟังที่สุด เห็นจะเป็นทฤษฎี "คลื่นพลังบำบัดโรค" หรือที่เรียกว่า "Vibrational medicine" ซึ่งอิงความรู้วิทยาศาสตร์ควอนตัม ดังที่ผมเคยเล่าสู่ผู้อ่านไว้แล้วเมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ใครสนใจขอย้อนกลับไปอ่านในเรื่องนั้น

แต่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด เราจะใช้ความรู้นวดฝ่าเท้ารักษาโรคมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ฉบับนี้ขอชี้ชวนให้ใช้การแพทย์ผสมผสานมาประยุกต์เป็นศาสตร์นวดฝ่าเท้าบำบัด โรคดูบ้าง

เดิมทีเดียว ทฤษฎีนวดฝ่าเท้าบำบัดโรคพอจะจำแนกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ ที่สำคัญ

สาขาหนึ่งเรียกว่า Zone Therapy เป็นการรักษาตามแนวพื้นที่ เผยแพร่โดยแพทย์อเมริกันชื่อ วิลเลียม ฟิตเจอรัลด์ตั้งแต่ปี คศ.1913 แล้วสืบทอดมาถึงปัจจุบันโดย โจเซฟ คอร์โว สาขานี้แบ่งร่างกายเป็น 10 แถบ ที่ต่อทอดจากศีรษะไปตลอดปลายมือ ปลายเท้า เขาแนะนำให้นวดทั้งมือและเท้าตามแถบพลังงาน เพื่อบำบัดโรคภายใน

สาขาที่สองเรียกว่า Reflexology ริเริ่มโดยนักบำบัดชาวอเมริกันชื่อ ยูนิช อิงก์แฮม เมื่อปี คศ.1938 เธอแบ่งโซนบนฝ่าเท้าเป็นแถบๆ ที่มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับไปสู่อวัยวะภายในแต่ละส่วน กลายเป็นแผนผังที่ปัจจุบันติดตั้งอยู่หน้าสถานนวดฝ่าเท้าเกือบทุกแห่งใน ปัจจุบันนี้

การบำบัดถือว่า ให้เลือกกดจุดที่ตรงกับอวัยวะที่ต้องการรักษาตามแผนผังที่ปรากฏในฝ่าเท้า นั้น ถ้าตรงจุดกันจะได้จุดที่รู้สึกเจ็บมาก ก็ให้นวดจุดนั้นไป อาจครั้งเดียวหรือหลายครั้งจนจุดนั้นคลายไป

อย่างไรก็ดี ถ้านักบำบัดฝ่าเท้าในปัจจุบันจะได้ขยายความเข้าใจในทฤษฎีอื่นๆ มาใช้ร่วมในการนวดฝ่าเท้าแล้ว ผมคิดว่าจะเกิดบทบาทในการรักษาโรคอีกมาก บางทีถ้าส่งเสริมกันให้เป็นล่ำเป็นสันอาจเป็นกุญแจสำคัญทำให้เรื่องแบ่ง งบประมาณ 30 บาทมีทางจะลงตัวกันได้ง่ายยิ่งขึ้น โรงพยาบาลไหนอยู่ไกลและงบประมาณไปไม่ถึงกันนัก ก็ระดมกันนวดฝ่าเท้ากันให้ทั่วทั้งอำเภอ เพราะใครๆ ก็มีฝ่าเท้าของตัวเองอยู่แล้ว นวดให้ตัวเองบ้าง นวดให้กันและกันบ้าง เงินทองก็ไม่ต้องเสียสักบาท

ถ้าสนใจจะนวดฝ่าเท้าบำบัดโรค ควรเรียนรู้ทฤษฎีรักษาโรคตามแนวธรรมชาติบำบัดอีก 3 ทฤษฎี คือ
1.ทฤษฎีต่อมฮอร์โมน
2.ทฤษฎีล้างพิษ
3.ทฤษฎีการแพทย์แผนจีน

ทฤษฎีต่อมฮอร์โมน
ต่อมฮอร์โมนเป็นองค์ประกอบ สำคัญที่สร้างสมดุลของร่างกาย การเสื่อมสภาพของต่อมฮอร์โมนเป็นปัจจัยให้เกิดความชราภาพ บนฝ่าเท้ามีต่อมฮอร์โมนหลายตำแหน่ง การนวดจุดเหล่านี้จะกระตุ้นต่อมฮอร์โมนช่วยบำบัดได้ตั้งหลายโรคหลายอาการ

ต่อมเหนือสมอง (Pineal gland) ต่อมนี้สำคัญมากเป็นนายของต่อมอื่นๆ ทั่วร่างกาย โดยมีเส้นประสาทโยงใยและฮอร์โมนที่ออกคำสั่งไปยังต่อมอื่นๆ อีกมาก ฮอร์โมนสำคัญคือ เซโรโตนิน ซึ่งต่อมนี้สร้างขึ้นในเวลากลางวัน ทำให้เซลล์สดชื่นแจ่มใส และฮอร์โมนเมลาโตนินซึ่งสร้างในเวลากลางคืนทำให้เซลล์สยบ หลับสบาย

ต่อมเหนือสมองสนองตอบต่อแสง ตะวัน ทำหน้าที่เป็นนาฬิกาชีวภาพของเรา ทีนี้ชีวิตคนสมัยใหม่มักจะมีกิจวัตรไม่ตรงตามการทำงานของสรีระของต่อมเหนือ สมอง คนงานกะกลางคืน ทหารตำรวจอยู่เวรยาม พยาบาลเวรดึก นักร้อง นักแสดง สาวเสิร์ฟ นักบิน แอร์โฮสเตส บางคนไม่มีความจำเป็นทางวิชาชีพแต่ทำตัวเป็นนกเค้าแมว อย่างวัยรุ่นอยู่ดึกเพื่อเล่นเนต แม่บ้านรอละครน้ำเน่ารอบดึก คนเราสมัยนี้จึงมีไม่น้อยที่ใช้กิจวัตรกลับกลางคืนเป็นกลางวัน กลางวันเป็นกลางคืน ผลก็คือ ต่อไพเนียลทำงานสับสน พลอยทำให้ต่อมอื่นเสียการทำงานไปด้วย จึงทำให้สุขภาพเสื่อมสุดๆ ตั้งแต่ผิวพรรณหม่นหมอง รอยตีนกาโผล่ รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ มีลูกยาก อารมณ์หงุดหงิด นอนไม่หลับ สมรรถภาพทางเพศเสื่อม

การกดจุดเหนือสมองหรือต่อมไพ เนียลที่ฝ่าเท้า จึงช่วยปรับทั้งการทำงานของฮอร์โมน ทั้งสร้างความสดชื่นแจ่มใสยามกลางวัน กลางคืนนอนหลับสบาย แก้ภาวะอ่อนเพลีย สร้างความกระปรี้กระเปร่า

ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ต่อมนี้สั่งการต่อไปยังต่อมไทรอยด์ หมวกไต รังไข่ อัณฑะ หลักวิชาโยคะถือว่าต่อมไพเนียลและต่อมใต้สมองทำงานสัมพันธ์กัน ช่วยให้จิตสงบ การนวดจุดใต้สมองมีผลสงบประสาท ช่วยนอนหลับ ปรับประจำเดือน เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ สร้างความกระปรี้กระเปร่า แก้ซึมเศร้า อาการก่อนหลังประจำเดือน ภาวะก่อนหมดประจำเดือน และอ่อนเปลี้ยเรื้อรัง ฯลฯ

ต่อมไทรอยด์ ( Thyroid gland) ควบคุมการเผาผลาญอาหาร การนวดจุดไทรอยด์ช่วยแก้อาการร้อนง่าย กระวนกระวาย ใจเต้นใจสั่น ตื่นเต้นง่าย ประจำเดือนกระปริบกระปรอย ฯลฯ

ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด คุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การนวดพาราไทรอยด์จึงช่วยคลายกล้ามเนื้อได้ดี

ต่อมไทมัส (Thymus gland) มีบทบาทควบคุมภูมิต้านทาน ทำหน้าที่เสมือนโรงเรียนฝึกอบรมเม็ดเลือดขาวให้พร้อมแก่การเกิดปฏิกิริยา ปกป้องร่างกาย คนที่ต่อมไทมัสทำงานน้อยจะพบอาการติดเชื้อเรื้อรัง กระทั่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

นักนวดฝ่าเท้าอย่างโจเซฟ คอร์โวให้ความสำคัญกับไทมัสมาก ผู้ป่วยที่มีเหตุกระทบกระเทือนทางจิตใจรุนแรง คนที่ตกอยู่ในความเครียด จุดไทมัสจะไวต่อการกระตุ้นมาก ถ้าพบผู้ป่วยในลักษณะนี้ให้ผู้นวดสอดใส่ความเมตตากรุณาเข้าไปในระหว่าง สัมผัสของการนวด จะพบว่าด้วยเวลาเพียงไม่นานความเจ็บปวดที่จุดนั้นจะหายไปและผู้ถูกนวดจะแจ่ม ใสขึ้นอย่างน่าพึงพอใจ

ต่อมตับอ่อน (Pancreas) ภาวะหย่อนของตับอ่อนทำให้น้ำตาลเลือดสูง ร่างกายอ่อนล้า เบื่ออาหาร ท้องอืด อาหารไม่ย่อย นวดจุดตับอ่อนช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด แก้ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง เพิ่มเรี่ยวแรง

ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) นวดจุดนี้บำบัดภูมิแพ้ หอบหืด รูมาตอยด์ SLE ภูมิต้านทานไวเกิน

ต่อมเพศ (Gonad glane) ช่วยผิวพรรณดี จิตใจแจ่มใส ทรวดทรงดี เจริญพันธุ์ มีสมรรถภาพทางเพศ

นักนวดฝ่าเท้า ลองจับสังเกตอาการของผู้ถูกนวด แล้วเลือกใช้ทฤษฎีต่อมฮอร์โมนมาช่วยนวดฝ่าเท้า ก็แก้รักษาโรคได้อีกอักโขเชียวครับ
 
 นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล
ที่มา www.balavi.com

ความรู้ทั่วไป ความดันโลหิต



Q&A เช็กความดันโลหิต
พร้อมกับคำ บอกเล่าของคุณหมออีกสองสามคำ ว่า ปกติ ต่ำ สูง ประการใด แต่คุณผู้อ่านเคยอยากรู้ต่อไปไหมคะว่า ตัวเลขเหล่านั้นบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพของเราบ้าง

Q: เมื่อไหร่จึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง
A: เมื่อความดันโลหิตเกิน 120/75 จัดว่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อความดันโลหิตเกิน 140/90 อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว เมื่อความดันโลหิตเกิน 160/100 ถือว่าอันตราย

Q: ระดับความดันโลหิตอันตราย ที่พร้อมจะก่อปัญหาสุขภาพ
A: ระดับความดันโลหิต 140/90 เป็นระดับความดันโลหิตที่อาจก่อปัญหาสุขภาพรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ระดับความดันโลหิตนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โรคไต และภาวะหัวใจวายได้

Q: ตัวเลขความดันโลหิตตัวบนหรือตัวล่างสำคัญกว่ากัน
A: สำคัญเท่ากัน โดยตัวแรกคือค่า systolic เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ค่าหลังคือ diastolic เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว

ค่า systolic สามารถประเมินถึงความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจ ไต และประเมินประสิทธิภาพการไหลเวียนเลือดของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ส่วนค่า diastolic เป็นตัวที่สำคัญซึ่งจะบ่งบอกถึงปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือด

Q: ถ้าเป็นคนสุขภาพไม่แข็งแรงอยู่เดิม เกณฑ์การเฝ้าระวังความดันโลหิตสูงเหมือนคนทั่วไปหรือไม่
A: ไม่เหมือน โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักเกิน มีคอเลสเตอรอลสูง หรือป่วยเป็นโรคไต ความดันที่ระดับ 110/75 ถือว่าสูงแล้ว

Q: ภาวะใดที่กระตุ้นให้ความดันโลหิตสูง
A: ไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง กินอาหารรสเค็มในปริมาณมาก การมีระดับคอเลสเตอรอลสูง

ไม่ว่าระดับความดันโลหิตตอนนี้จะเป็นเช่นไร การดูแลสุขภาพอย่างรอบด้านช่วยตัดตอนความดันโลหิตสูงและสารพัดโรคได้ค่ะ

นวดกดจุดสยบปวดคอ

นวดกดจุดสยบปวดคอ


ภาพ:219cure.jpg

        อาการปวดคอนั้นมักจะมีหลายแบบ เช่น ปวดเมื่อยต้นคอ คอแข็งเอี้ยวไม่ได้ บางครั้งจะปวดบริเวณไหล่หรือบ่าร่วมด้วย ตลอดจนปวดร้าวไปที่ศีรษะ ต้นแขน ปลายแขน หรือแม้แต่ปวดและชาที่นิ้วมือได้ ต้องลองสังเกตว่าตัวเราเองปวดแบบไหน เช่นมีนมีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอและที่บ่าร่วมด้วย แต่ยังหันคอไปมาได้ตามปกติ แม้จะรู้สึกปวดแต่ก็ไม่เจ็บมาก

        ต่อมาลองหาสาเหตุของอาการปวดคอกัน ซึ่งสาเหตุการปวดคอที่พบบ่อย เกิดจาก


  • อิริยาบถหรือท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การแหงนหน้าหรือก้มหน้าทั้งวัน อย่างผู้ทำงานเย็บจักร ซักผ้า เขียนหรืออ่านหนังสือ ตลอดจนครูที่ต้องแหงนหน้าเขียนกระดานบ่อยๆ หรือนักบัญชีที่ต้องก้มคอนานๆ แม้แต่การนอนหนุนหมอนที่สูงหรือแข็งเกินไปก็ทำให้เป็นโรคปวดคอได้
  • สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน หรืองานในชีวิตประจำวันไม่เหมาะสมกับสรีระของร่างกาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้สูงหรือต่ำเกินไป
  • ความเครียดของจิตใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อคอ ทำให้มีอาการปวดต้นคอ ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย ภายหลังการทำงานหรือภายหลังมีปัญหาขัดแย้ง
  • อุบัติเหตุ ซึ่งจะทำให้มีการเคลื่อนไหวของคอมาก หรือรวดเร็วกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นฉีกขาด หรือ กระดูกเคลื่อน
  • กระดูกคอเสื่อม เป็นการเปลี่ยนแปลงที่พบได้ในคนสูงอายุ บางคนอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ ขณะที่บางคนอาจมีอาการมากจนต้องได้รับการรักษา
ข้ออักเสบ เช่น ในผู้ป่วยรูมาตอยด์

        เมื่อเราสำรวจพบสาเหตุของอาการปวดคอกันแล้ว นอกจากจะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยคอ ในรายที่มีอาการไม่มาก และไม่มีอาการบวมแดงก็คือ การนวดกดจุด เริ่มต้นง่ายๆ ดังนี้

กดจุดเยียวยาป่วย

        การกดจุดตามขั้นตอนต่อไปนี้ ต้องขอความร่วมมือจากคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด อาจชวนกันมาทำเป็นกิจกรรมยามว่างในครอบครัวของคุณก็ได้ โดยเริ่มจากให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้ ตั่ง หรือพื้นที่ปูเบาะ (ถ้าผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ให้ข้ามขั้นตอนที่ 1) พร้อมกันแล้ว ก็ลงมือได้เลยค่ะ
        1. ให้ผู้นวดยืนด้านหลังผู้ป่วย แล้วโน้มตัวลงมาตรงๆ ใช้ฝ่ามือกดที่ไหล่ เริ่มออกแรงเบาๆ ก่อน แล้วจึงค่อยๆ โน้มต่ำลงเพิ่มแรงมากขึ้น         2. มือข้างหนึ่งประคองหน้าผากไว้ อีกมือหนึ่งบีบกล้ามเนื้อหลังคอ โดยค่อยๆ บีบไล่จากท้ายทอยลงมา         3. ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปอย่างหนัก ตรงแอ่งระหว่างกล้ามเนื้อคอและฐานกะโหลกศีรษะ กดไล่ลงมาด้านล่างช้าๆ แล้วจึงเปลี่ยนมือและกดจุดแบบเดิมที่คออีกด้านหนึ่ง         4. สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณไหล่หรือบ่าร่วมด้วย ให้ผู้นวดถอยหลังออกมานิดหนึ่ง เหยียดแขน วางมือลงบนไหล่ทั้งสองข้าง กดช้าๆ ซ้ำๆ กันหลายครั้งที่บริเวณกล้ามเนื้อข้างกระดูกสันหลังทั้งสองด้านของกระดูก หัวไหล่ ออกแรงกดเท่าที่ผู้ป่วยทนได้         5. จบการนวดกดจุดด้วยการบีบนวด และลูบมือจากไหล่ลงมาถึงข้อศอกซ้ำๆ เร็วๆ เพื่อให้คลายจากการตึงเครียด

ควรไปพบแพทย์เมื่อ
  • ถ้ารักษาตัวเองแล้วไม่ได้ผล และปวดนานเกิน 3 วัน
  • มีอาการปวดมากจนยกแขนขึ้นเหนือศีรษะไม่ได้
  • ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม หรือมีอาการกลืนลำบากร่วมด้วย
  • ปวดคอหรือไหล่หลังจากเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้ม ต้องพบแพทย์ทันที
  • กรณีที่ปวดคอและมีอาการคอเคล็ด รวมถึงปวดศีรษะ มีไข้สูง ตาไม่สู้แสง และมีผื่นแดง ต้องพบแพทย์โดยด่วน เพราะเหล่านี้เป็นอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ชีวจิตดอมคอม

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาพการสอน ศิษย์เก่า

ภาพการสอน ศิษย์เก่า
ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ และไปสอนต่างประเทศ ค่ะ



























































นวดแก้อาการ “นิ้วล็อก”(1)

นวดแก้อาการ “นิ้วล็อก”(1)    

 
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=949000013534
       “คุณหมอคะ ดิฉันมีอาการนิ้วล็อก คือเวลางอเข้ามาแล้วไม่สามารถยืดกลับไปเหมือนเดิมได้ ทำให้ต้องใช้อีกมือช่วยดึงให้กลับไป ไม่ทราบว่ามีหนทางรักษาให้กลับคืนไปเหมือนเดิมไหมคะ”
       คนไข้สุภาพสตรีรายหนึ่งบอกเล่าอาการนิ้วล็อกหรืออาการติดขัดของนิ้วมือ
       ให้ฟัง พร้อมกับขอความช่วยเหลือ
      
       แน่นอน...ในฐานะที่เป็นหมอก็ต้องตอบว่า “ได้”
      
       ในทางการแพทย์จีนเรียกอาการนิ้วล็อกว่า “ฐานเสี่ยงจื่อ” เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับ “ผู้หญิง” มากกว่า “ผู้ชาย” และมักพบบ่อยในผู้ที่ต้องใช้มือ โดยเฉพาะ “นิ้ว” ทำงานเป็นเวลานาน
      
       การใช้นิ้วมือที่เคลื่อนอยู่อย่างตลอดเวลาส่งผลทำให้เส้นเอ็นและ กล้ามเนื้อเกิดการเสียดสีกัน เมื่อเสียดสีกันนานๆ ก็จะเกิดอาการอักเสบ บวม และทำให้เส้นเอ็นค่อยๆ หนาขึ้น กระทั่งทำให้การเคลื่อนไหวของนิ้วเป็นไปอย่างติดๆ ขัดๆ
      
       อาการของโรคทางกายภาพที่พบเห็นกันเป็นประจำคือ นิ้วมือผิดรูป ซึ่งส่วนใหญ่นิ้วจะหนาขึ้นและมีลักษณะเหมือนลูกน้ำเต้า โดยเมื่อเรางอนิ้วเข้ามานิ้วจะเกิดอาการล็อก และไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ต้องใช้อีกมือหนึ่งมาช่วยดึงหรือปลดล็อกจึงจะกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม
      
       นอกจากนี้ อาการที่พบบ่อยๆ ในผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาก็อย่างเช่น นิ้วมือไม่มีแรง เมื่อยหรือบางทีก็ปวด การเคลื่อนไหวไม่สะดวก ยืดนิ้วยากลำบาก ถ้ากดไปตรงบริเวณที่มีปัญหาก็จะเกิดความเจ็บปวดขึ้น
      
       ทั้งนี้ อาการนิ้วล็อกมักจะเกิดขึ้นกับ 3 นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลางเป็นหลัก
       

       อย่างไรก็ตาม ต้องบอกและต้องย้ำว่า นิ้วล็อกเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมในการใช้งานของนิ้ว ไม่ใช่โรคที่เกิดจากเชื้อโรคแต่อย่างใด และผู้ที่ใช้มือ ใช้นิ้วในการทำงานมากๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเกิดอาการนิ้วล็อกทุกคนไป หากแต่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วยว่าเป็นอย่างไร ซึ่งโดยหลักการแพทย์แผนจีนอธิบายตรงนี้ว่า นอกจากมีผลมาจากการใช้นิ้วนานๆ แล้ว ยังมีส่วนเชื่อมโยงกับระบบเลือดลมที่ผิดปกติด้วย
      
       อาการนิ้วล็อกนั้น แม้ว่าจะไม่อันตรายร้ายแรงหรือส่งผลกระทบเชื่อมโยงหรือลามไปถึงอวัยวะส่วน อื่นๆ ของร่างกาย แต่ก็เป็นสิ่งที่มักจะสร้างความรำคาญและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเรา พอสมควร
      
       เพราะฉะนั้น จึงขอแนะนำให้เข้ารับการรักษาจากหมอผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ไม่ยากเท่าใดนัก
      
       ในปัจจุบัน การรักษาอาการนิ้วล็อกได้รับการพัฒนาไปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการแพทย์แผนปัจจุบันที่ใช้ “การผ่าตัด” เข้ามาช่วยรักษาและประสบความสำเร็จเช่นกัน แต่สำหรับแพทย์แผนจีนแล้ว ต้องบอกว่าไม่จำเป็น เพราะสามารถใช้การนวดทุยหนารักษาให้หายได้ ส่วนจะใช้เวลายาวนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
      
       สำหรับหลักการสำคัญในการรักษาด้วยทุย หนาก็คือ การทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก และระงับความเจ็บปวด การอักเสบและบวม โดยการนวดเพื่อทำให้ส่วนที่ยึดติดคลายตัวและฟื้นฟูการทำงานของนิ้วให้กลับ คืนสู่ปกติ
      
       ทั้งนี้ กรรมวิธีการรักษามีทั้งการกดจุด การโยกและการกระตุก โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอนด้วยกัน
      
       ขั้นที่หนึ่ง เริ่มต้นอุ่นเครื่องด้วยการใช้หัวแม่มือคลึงจุดที่เป็นปัญหา โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที
      
       ขั้นที่สอง ให้ใช้นิ้วกดในจุดที่เจ็บ หนักเบาสลับกันไป ซึ่งในแต่ละนิ้วก็จะมีจุดที่เจ็บมากกว่า 1 จุดขึ้นไป อาจจะเป็น 2 จุดหรือ 3 จุดก็ได้ โดยกดจุดละประมาณ 30 วินาที
      
       ขั้นที่สาม ให้ใช้มือหนึ่งจับที่มือของผู้ป่วยเอาไว้ ส่วนอีกมือหนึ่งจับที่ปลายนิ้วที่ล็อก จากนั้นให้ดึงนิ้วตรง หมุนนิ้วตามเข็มนาฬิกา 8 รอบ และหมุนทวนเข็มนาฬิกาอีก 8 รอบ
      
       ขั้นที่สี่ เมื่อทำตามขั้นตอนที่สามเสร็จแล้ว ให้ใช้มือดึงและกระตุกนิ้วที่ ล็อกให้ยืดออกมา
      
       และขั้นที่ห้า ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้บีบไล่รีดจากโคนนิ้วไปถึงปลายนิ้ว
      
       รวมแล้ว 5 ขั้นตอนใช้เวลาประมาณสัก 10 นาที
      
       และคราวหน้า เราจะว่ากันถึงวิธีการนวดตัวเองเพื่อแก้ปัญหานิ้วล็อก....
                                                   

การนวดแก้อาการปวดศีรษะ






             

การนวดแก้อาการปวดศีรษะ


 การปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ในทางแพทย์แผนไทยนั้น มีการกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์โรคนิทานว่าหากเส้นเอ็นกำเริบจะทำให้เกิดอาการปวด ศีรษะได้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง เส้นอิทา และเส้นปิงคลาซึ่งอยู่ในเส้นประธานสิบว่าเกี่ยวเนื่องกับการปวดศีรษะเช่น กัน  จากการศึกษาจากสาเหตุและอาการตามศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยสามารถแบ่งกลุ่มอาการปวดศีรษะได้ดังนี้

1. ปวดศีรษะจากเส้นเอ็นกำเริบ
2. ปวดศีรษะจากเส้นอิทากำเริบ (จะมีอาการตามืดมัว และชักร่วมด้วย) คล้ายอาการปวดไมเกรน
3. ปวดศีรษะจากเส้นปิงคลากำเริบ (จะมีอาการ ตาแดง ปวดเบ้าตา คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย) คล้ายอาการปวดแบบ คลัสเตอร์
4. ปวดศีรษะจากลมปะกัง เนื่องจากเส้นอิทา ปิงคลากระทำพิษ ร่วมกับ กำเดา (จะมีอาการชัก ปากเอียงร่วมด้วย) ซึ่งอาการเป็นอาการปวดที่รุนแรงระยะท้ายๆของการปวดจากเส้นอิทา ปิงคลา
5. ปวดศีรษะจากสมอง ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาภายในกะโหลกศีรษะ เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งแผนโบราณเรียกว่า สมองฟู สมองเฟื่อง ซึ่งน่าจะหมายถึงสมองบวมนั่นเอง

6. ปวดศีรษะตามฤดูกาลทั้ง 3 (ร้อน ฝน หนาว) ซึ่งมีลักษณะไม่แน่นอน แต่มีอาการปวดล้ายกับการปวดศีรษะจากเมตาบอลิซึม เกิดจากการกินอาหารหรือสารพิษเป็นต้น อาจหมายความถึงการปวดศีรษะจากความเครียดไว้ในกลุ่มนี้ด้วย



วิธีการนวดแก้อาการปวดศีรษะจากความเครียด
1. นวดพื้นฐานบ่าและจุดฐานคอ
2. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหลัง
3. กดเน้นจุดฐานกะโหลกด้านหลัง 3 จุด
4. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหน้า
5. กดเน้นจุดใต้หัวคิ้วกดรีดไปตามใต้หัวคิ้วถึงหางคิ้ว คลึงขมับ
6. นวดพื้นฐานหลัง

วิธีการนวดแก้อาการปวดศีรษะจากเส้นอิทา (ไมเกรน)
1. นวดพื้นฐานบ่า เน้นจุดฐานคอ
2. นวดศีรษะด้านหลังข้างซ้าย เน้นบริเวณขมับข้างซ้าย
3. นวดศีรษะด้านหลังข้างขวา เน้นบริเวณขมับข้างขวา
4. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหน้า
5. กดเน้นจุดใต้หัวคิ้วกดรีดไปตามใต้หัวคิ้วถึงหางคิ้ว คลึงขมับข้างซ้าย
6. นวดศีรษะด้านหลังข้างซ้าย เน้นบริเวณขมับข้างซ้าย


วิธีการนวดแก้อาการปวดศีรษะจากเส้นปิงคลา (คลัสเตอร์)
1. นวดพื้นฐานบ่า เน้นจุดฐานคอ
2. นวดศีรษะด้านหลังข้างขวา เน้นบริเวณขมับข้างขวา
3. นวดศีรษะด้านหลังข้างซ้าย เน้นบริเวณขมับข้างซ้าย
4. นวดศีรษะด้านหลังข้างขวา เน้นบริเวณขมับข้างขวาอีกครั้ง
5. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหน้า เพิ่มจุดขอบคาง ใต้ริมผีปาก และจุดรอบโคนจมูก(รอบโพรงไซนัส)
6. นวดจุดเหนือใบหู คลึงขมับ

เมดอัพ รับสอน อบรม นวดในประเทศ ทั่วไทย มีใบประกาศ


เมดอัพ รับสอน อบรม นวดในประเทศ ทั่วไทย มีใบประกาศ เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ


โดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประสบการณ์ของเราเกือน 20 ปี ทั้งในและต่างประเทศ
ในการสอน โดยอาจารย์สามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษ คอร์สเรียนเป็นไว เข้าใจง่าย


คอร์สนวดไทย
คอร์สนวดน้ำมัน อโรม่า

คอร์สสวีดิช
คอร์สนวดประคบ
คอร์สนวดปรับสมดุล จัดกระดูก แก้อาการ ประยุกต์
คอร์สแก้อาการ เบสิค ทั่วไป
คอร์สสปาตัว สปาหน้า
คอร์สกัวซา



ถ้าหากท่านใดสนใจ ติดต่อเราได้ที่
holistic.th@gmail.com, 08 222 82 651

รับสอน อบรม นวดต่างประเทศ

รับสอน อบรม นวดต่างประเทศ

เมดอัพ รับสอน อบรม นวดต่างประเทศ

โดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประสบการณ์ของเราเกือบ 20 ปี ทั้งในและต่างประเทศ
ในการสอน โดยอาจารย์สามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษ คอร์สเรียนเป็นไว เข้าใจง่าย

คอร์สนวดไทย
คอร์สนวดน้ำมัน อโรม่า
คอร์สสวีดิช
คอร์สนวดประคบ
คอร์สนวดปรับสมดุล จัดกระดูก แก้อาการ ประยุกต์
คอร์สแก้อาการ เบสิค ทั่วไป

ถ้าหากท่านใดสนใจ ติดต่อเราได้ที่
holistic.th@gmail.com, 08 222 82 651






รับ ปรับสมดุล นวดปรับกระดูก สโมสร คลับ กีฬา ต่างๆ

รับ ปรับสมดุล  นวดปรับกระดูก สโมสร คลับ กีฬา ต่างๆ


สำหรับสโมสร คลับกีฬา ต่างๆ หากต้อง การปรับสมดุล นวดจัดกระดูก ให้นักกีฬาของท่าน มีสภาพที่พร้อมเสมอ เราขอเสนอ รับบริการนี้ค่ะ ท่านสามารถแสดงความจำนง มาได้ที่
holistic.th@gmail.com, 08 222 82 651 ค่ะ

ตัวอย่างนักกีฬา ต่างชาติ ที่เข้าคอร์สเดียวกันนี้ค่ะ

 

 การได้รับความนิยมของไคโรแพรคติค

 


ไคโรแพรคติคได้รับความนิยมมากที่สุด มีระเบียบแบบแผนในการรักษามากที่สุด และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในด้านการแพทย์ทางเลือกสมัยใหม่ (รักษาโดยไม่ผ่าตัดหรือใช้ยา) ผลการสำรวจคนไข้ที่เข้ารับการรักษาโดยแพทย์ทางเลือกสมัยใหม่แสดงให้เห็นว่า ไคโรแพรคติกแพทย์เป็นแพทย์ที่คนไข้เลือกขอคำปรึกษาและรักษามากที่สุดในบรรดา การแพทย์ทางเลือกสมัยใหม่ นอกจากนี้คนไข้ยังได้รับความพึงพอใจในระดับสูงจากการบำบัดรักษาโดยไคโรแพร คติค
Meeker, Haldeman (2002), Annals of Internal Medicine

ประสบการณ์จากผู้ที่เคยได้รับการรักษาด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติก
แดน โอไบรอัน – นักกีฬาเหรียญทอง ประเภทกรีฑา
เรา ไม่สามารถจะใช้ศักยภาพร่างกายในการลงแข่งได้อย่างเต็มที่หรอกครับ หากโครงสร้างของเรามีภาวะผิดสมดุล และร่างกายก็ไม่สามารถที่จะซ่อมแซมรักษาตัวเองได้เช่นกันหากแผ่นหลังของเรา มีความผิดปกติ นี่คือแนวคิดเกี่ยวกับการทำไคโรแพรคติกที่ผมเชื่อมั่นมาโดยตลอด เพราะเป็นสิ่งที่นักกีฬาประเภทลู่และลานต้องพบเจออยู่เสมอ นักกีฬาทั้งลู่และลานทุกคนที่ผมรู้จักต้องเคยพบแพทย์ไคโรแพรคติกอย่างน้อยก็ หนึ่งครั้ง เพราะโครงสร้างที่สมดุลเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ผมเชื่อว่าศาสตร์ไคโรแพรคติกคือศาสตร์ทางการแพทย์ที่ไม่ว่าใครก็คงปฏิเสธไม่ ได้ว่ามีความสำคัญเพียงใด เพราะหากไม่มีศาสตร์ไคโรแพรคติก ผมคงไม่มีโอกาสได้เหรียญ
 
ไทเกอร์ วู้ดส์
ไคโร แพรคติกสามารถช่วยผมไว้ได้มากทีเดียวครับ ช่วงที่ผมต้องโหมฝึกกอล์ฟมากๆ หลังของผมก็เริ่มมีอาการปวดและทำให้ร่างกายอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ไคโรแพรคติกแพทย์ได้ทำการรักษาและช่วยผมไว้มาก เพราะนอกจากจะช่วยปรับโครงสร้างสู่สมดุลแล้ว ไคโรแพรคติกยังช่วยให้ผมได้ออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงทนทานแก่กล้าม เนื้อและโครงสร้างอีกด้วย ดังนั้น หากคุณเล่นกีฬาและต้องเคลื่อนไหวอยู่เป็นประจำ ไคโรแพรคติกคือศาสตร์ทางการแพทย์ที่ผมแนะนำครั
 
อีแวนเดอร์ โฮลีฟิลด์
ผม พบว่าไคโรแพรคติกสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพให้ผมมากทีเดียวครับ ผมคิดว่าการพบแพทย์ไคโรแพรคติกก่อนขึ้นสังเวียน เพื่อปรับโครงสร้างร่างกายนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากเพราะผมเชื่อ มั่นในศาสตร์ไคโรแพรคติกครับ การพบแพทย์ไคโรแพรคติกเพียง 3 ครั้งต่อสัปดาห์สามารถช่วยให้ร่างกายของผมมีสมรรถภาพดีขึ้นมาก ซึ่งถือเป็นหลักสำคัญสำหรับการชกมวยเลยทีเดียวครั
 
เอมเมทท์ สมิทธิ์
"การ ลงทุนเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งที่ดีครับ" เอมเมทท์ สมิทธิ์กล่าวแก่ Forth Worth Star-Telegram ร่างกายก็เปรียบเสมือนรถยนต์นั่นล่ะ คือไม่ว่าบอดี้จะดูดีขนาดไหน แต่ความสมดุลโครงสร้างจะต้องมาก่อนเสมอ ผมเชื่อว่าหากเราดูแลร่างกายของเราให้ดีตั้งแต่วันนี้ สุขภาพที่ดีก็จะยังอยู่กับเราแม้ในวันที่เราแก่ตัวลงแล้วก็ตาม บางคนอาจจะยังไม่มั่นใจในศาสตร์ไคโรแพรคติกนัก แต่หากคุณได้เจอในสิ่งที่ผมเจอ และใช้ชีวิตอย่างที่ผมมี คุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าไคโรแพรคติกสามารถช่วย
 
เมล กิ๊บสัน
ด้วย รูปแบบการรักษาหลากหลายรูปแบบของไคโรเมด คลินิก ทั้งการรักษาด้วยศาสตร์ ไคโรแพรกติกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการทำกายภาพและการออกกำลังกายที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล และควบคุมอการเล่นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง ‘The Patriot’ และ ‘Braveheart’ ทำให้เมล กิ๊บสันต้องเจ็บตัวอยู่เป็นประจำ ‘ตอนแสดงภาพยนตร์ ร่างกายเราสามารถเกิดอการบาดเจ็บได้ตลอดเวลาครับ เพราะต้องวิ่งขึ้นลงเขาถึง 7-8 เทค และเกิดข้อเท้าพลิกได้ง่ายๆ’ นักแสดงคนดังเผยต่อ TV Guide Online ว่า ‘เราต้องมีไคโรแพรคติกแพทย์ประจำอยู่ที่กองถ่ายเรื่อง The Patriot เลยครับ เพราะเขาสามารถช่วยให้ข้อเท้าของเราคืนสู่ภาวะสมดุลได้ภายใน 15 นาที ในช่วงนั้นผมต้องพบผมเขา 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง ตั้งแต่ที่ลอสแองเจลลิสไปจนถึงเซาธ์ แครอลไลนา เขาอยู่กับกองถ่ายภาพยนตร์ตลอด เพราะบรรดานักแสดงแทนต้องให้เขาช่วยรักษาหมอนรองกระดูกให้ และเขาก็ทำได้ดีมากครับ น่าเหลือเชื่อจริงๆ
 
อาร์โนลด์ ชวาซเนคเกอร์ – ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย / มิสเตอร์โอลิมเปีย และนักแสดงชื่อดัง
ไคโร แพรคติกคือศาสตร์เพื่อสุขภาพและความแข็งแรง มีแนวคิดพื้นฐานด้านการบำบัดมาจากธรรมชาติในลักษณะการป้องกัน ซึ่งผมมีประสบการณ์ตรงมาตลอด 30 ปี ไม่ว่าสุขภาพของผมจะมีปัญหาหรือไม่ ผมจะไปพบแพทย์ไคโรแพรคติกอยู่เป็นประจำครับ เพราะการป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าเสมอ ปัญหาสุขภาพที่เคยมี ตอนนี้ก็ไม่มีอีกแล้ว ผมจึงสามารถบอกกับทุกคนได้เลยว่าไคโรแพรคติกช่วยผมได้อย่างไรบ้าง ไคโรแพรคติกเป็นศาสตร์ที่ทำการรักษาและป้องกันได้ดีมากจริงๆ สำหรับผู้ที่ชอบการเพาะกายและเล่นฟิตเนส การดูแลรักษาร่างกายให้อยู่ในสภาพดีและแข็งแรงอยู่เสมอนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ซึ่งผมพบว่าการผสมผสานระหว่างฟิตเนสและไคโรแพรคติก





วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

What is a Hot Stone Massage?

What is a Hot Stone Massage?

 

Hot stone massage is a variation on classic massage therapy. Heated smooth, flat stones are placed on key points on the body. The massage therapist may also hold the stones and use them to massage certain areas of the body.
The use of hot stones for healing dates back to ancient times, but it wasn't until Arizona massage therapist Mary Nelson introduced her hot stone massage technique, called LaStone Therapy, that the use of hot stones for massage caught on.
Nelson conducts workshops to train other massage therapists in LaStone. While LaStone continues to be popular, massage therapists and spas have also developed their own versions of the hot stone massage using heated, smooth rocks.

How Does Hot Stone Massage Work?

The hot stones are usually made of basalt, a type of rock that is rich in iron, so they retain heat. River rocks are normally used because they are so smooth - they have been smoothed over time by the river's current.
The stones are immersed in water and heated in an electric heating device until they are within a certain temperature range. The stones may be placed at specific points on the back, in the palms of the hand, or between the toes.
The heat warms and relaxes the muscles, which allows the therapist to apply deeper pressure, if desired.
The warmth of the hot stones improves circulation and calms the nervous system.
Some massage therapists place stones on points that are thought to be energy centers of the body to rebalance the body and mind.

Why Do People Get Hot Stone Massage?

Many people find the warmth of the hot stones to be comforting and get it for relaxation.
Hot stone massage is suited to people who tend to feel chilly or who have cold feet. It's also suited for people who have muscle tension but prefer a lighter massage. The heat relaxes muscles, allowing the therapist to work the muscles without using deep pressure.
People also get hot stone massage for a variety of health conditions:
  • Back pain and aches
  • Poor circulation
  • Osteoarthritis and arthritis pain
  • Stress, anxiety and tension
  • Insomnia
  • Depression

How Do the Hot Stones Feel?

The hot stones are never rough. They are always flat and smooth. The hot stones used on the back are about the size of a large egg, only flat.
The stones are heated in an electrical heating unit that either provides a temperature reading or has an adjustable thermostat control.
The massage therapist always holds the stones first before touching them to your body, which ensures that the temperature will not be too hot. Everyone, however, has their own comfort range. Be sure to speak up if the stones are too hot for you.
Cool marble stones are occasionally used during a treatment, particularly if there is inflammation.

What Can I Expect During my Hot Stone Massage?

The massage therapist often begins by applying oil to the body, which allows the hot stones to glide smoothly along the muscles. You are lying face down, and the massage therapist often then uses the hot stones to massage the back.
After the hot stones have relaxed the muscles, the massage therapist may put down the stones and use his or her hands to directly massage the skin.
The hot stones may then be placed back on to the body and left for a short period of time.
You are then asked to turn over onto your back. The massage therapist may place small hot stones between your toes or in the palm of your hand and repeats the sequence.
A typical hot stone massage is between 60 and 90 minutes long and ranges between $50 and $190.

Precautions

Massage is not recommended for certain people:
  • People with infectious skin disease, rash, or open wounds
  • Immediately after surgery
  • Immediately after chemotherapy or radiation, unless recommended by your doctor
  • People prone to blood clots. There is a risk of blood clots being dislodged. If you have heart disease, check with your doctor before having a massage
  • Pregnant women should check with their doctor first if they are considering getting a massage. Massage in pregnant women should be done by massage therapists who are certified in pregnancy massage.
Massage should not be done directly over bruises, inflamed skin, unhealed wounds, tumors, abdominal hernia, or areas of recent fractures.

Additional Hot Stone Massage Tips

  • Don't eat a heavy meal before the massage
  • If it's your first time at the clinic or spa, arrive at least 10 minutes early to complete the necessary forms. Otherwise, arrive 5 minutes early so you can have a few minutes to rest and relax before starting the massage.
  • What Makes a Spa Massage Good?


    At spas around the world, the only massage you can find is either skin deep or too deep. A Goldilocks just-right intensity is the Holy Grail of massage. What makes a good massage good? What's the right pressure for a massage and how can you find it?
    Be aware that training standards for massage therapists vary from excellent to literally none at all. Thai massage may be famous, but a lot of so-called Thai massage is just poor quality Swedish massage done by Thai people. Visit Vancouver and you'll find spas that hire only the best: medical massage therapists with 2000+ hours of training. But hop across the border to Seattle, and you'll get therapists who had to complete no more than 500 hours of training to get their licenses and that's still more training than a lot of places.

    The Many Different Types of Massage & What They Really Mean

    Thai massage, by the way, is just Swedish integrated with quite a bit of stretching, like having yoga done to you, instead of doing yoga. And Swedish massage refers to all the stereotypical massage moves, like lubed strokes with the palms (effleurage), karate chopping the back (tapotement), and kneading with the fingertips (petrissage). They are called Swedish because it was a Swede gave names to all these tricks of the trade. Nearly any kind of massage can be described with the Swedish jargon.
    Sports massage is not really sports massage without an athlete. Sports massage is just a matter of selecting techniques that make sense for an athlete. If you're not an athlete and someone offers you sports massage, it probably just means faster, deeper, with a bit of emphasis on treating injuries.
    Names like myofascial massage or neuromuscular massage are just fancy-sounding, Latinized descriptions of massage itself. They are almost redundant, and mean pretty much whatever a therapist wants.
    Rolfing aims to straighten you out, typically with slow, strong pressing and stretching. Although kinder and gentler than it used to be, spas offer it because it's probably the best-known type of deep tissue massage.
    A few more: Lomilomi, or Hawaiian massage, has grown in popularity in recent years and it's as variable as Swedish; Shiatsu or acupressure is massage of acupuncture points, often quite strong; reflexology is foot, hand and ear massage based on alleged reflexes affecting the whole body; hot stone massage is a staple in spas these days, a wonderful experience when artfully performed, and might be the most likely way to get a mostly relaxing massage that also has a bit of strength.
    Medical massage is massage with a therapeutic or rehabilitative focus, and generally only advertised by therapists with the best possible training. Spas don't advertise medical massage because it doesn't sound very pleasant, but they do hire them. And you may not need a medical massage, but for a good quality sensory experience you do need someone who won't make amateurish mistakes, such as no-pain-no-gain savagery.

    Ok. So What Makes a Good Massage?

    No matter what name it has, the only obvious and well-known powers of massage are to soothe your nervous system and to reduce muscle aching and stiffness. A fluffy, skin-deep massage isn't relaxing for most people, but neither is agonizing muscle abuse. Your nervous system is neatly divided into halves: you literally have a set of nerves for relaxing (parasympathetic), and a separate set of nerves for action and panic (sympathetic). A good massage will light up your chillaxing nerves like a Christmas tree, and generally avoid setting off the panic nerves. You know you're getting into too much of the latter if you are gritting your teeth and flinching. What makes a massage deep is not sheer force, but reasonable pressures in the right places at the right times. The right places are key locations in muscles where muscle knots form, technically called trigger points. Trigger points are as common as pimples, but more lasting and uncomfortable. They are the primary reason we get stiff and achy, and they can get shockingly unpleasant to live with. Pressing on a trigger point generates a strange mixture of sensitivity and relief, what we call "good pain" in the massage business. To give a good massage, a therapist must zoom in on trigger points, aiming for good pain.
    Trigger points are unlikely to respond well to too much or too little pressure. So, medium massage intensity is the usual maximum, and gentler is essential for some people. Whatever the qualifications of your therapist, be assertive: ask for what you want, and do not tolerate too much pain, too fast, or pain with a sharp, nasty quality. And never hesitate to say, "a little to the left, please," or even show them on their own body where you think you need pressure. Help your therapist get to the perfect spots. Good massage always involves a little teamwork!

    The 10 Most Popular Massages


     

    1. Swedish Massage

     

     Swedish massage is the most common type of massage and a great place to start if it's your first massage or if you're afraid a massage might be painful. During Swedish massage, massage therapists use massage oils to facilitate smooth, gliding strokes over your body. You are usually nude under sheets, but only the part that is being massaged is exposed so modesty is always respected.

    2. Relaxation Massage

    While a relaxation massage has health benefits, the massage therapist will probably go slower and avoid deeper work that could be at all uncomfortable. A relaxation massage is good if you're a beginner or sensitive to pain, or if you had a lot of deep work done the day before at a spa that offers daily massage.

    3. Deep Tissue Massage

    Deep tissue massage uses many of the same movements and techniques as Swedish massage, but the therapist will work the deeper tissue structures of the muscle and fascia (connective tissue). It is also a more focused type of massage, as the therapist works to release chronic muscle tension or knots called adhesions. Many people expect deep tissue massage to be an hour of intense pressure and pain, but this is counterproductive.

    4. Therapeutic Massage

    This is just another way to say that the massage is meant to have therapeutic purposes and health benefits. Therapeutic massage is a way to distinguish it from "massage parlor" massage, which was the image that massage had with most Americans back in the 1960s. Therapeutic massage also might indicate that the massage will be a little deeper -- not just a pure relaxation massage.

    5. Full-Body Massage

    Most massages are full-body massage, meaning that the therapist will massage your back, legs, arms, and neck. If it's a half-hour massage, you are better off having the therapist concentrate on a specific area that is giving you trouble. Or a therapist might take a full hour to concentrate on a specific area because of injury or chronic pain. Sometimes signs for "full-body massage" are used by "spas" that function more like the old massage parlor.

    6. Aromatherapy Massage

    Aromatherapy massage is usually a Swedish or deep tissue massage where the massage oil has been blended with essential oils such as lavender, peppermint or geranium to affect your mood and alleviate pain. Aromatherapy massage is at its best when the therapist uses high quality, therapeutic essential oils blended to address your specific need. This can be hard to find in a commercial spa setting. You are probably better off with a private practitioner specifically trained in aromatherapy massage.

    7. Hot Stone Massage

    Hot stone massage is a very popular massage that uses smooth, rounded stones that have been heated in water. The therapist uses the stones as an extension of his/her hand and may also place them on your belly, hands or back. When done well hot stone massage is great, because the heat helps warm up your muscles and is very relaxing. But hot stone massage requires a lot of skill, so quality can vary widely.

    8. Sports Massage

    Sports massage was developed for athletes who need to keep their bodies in great condition and quickly work out any stress or injuries. Sports massage can be used to get an athlete ready to compete, support their bodies while they compete, or help it recover after an event. But sports massage is good for anyone with chronic pain, injury or range-of-motion issues. The therapist generally concentrates on a specific problem area which may be related to sports, like golf or tennis.

    9. Couples Massage

    Couples massage is where two people are massaged in the same room, at the same time, by two different therapists. It can be a husband and wife, girlfriend and boyfriend, same-sex partners, or even moms and daughters sometimes or best friends. The setting can range from a simple romm big enough for two tables to an elaborate spa suite. You can talk or keep quiet during couples massage -- it's up to you.

    10. Prenatal/Pregnancy Massage

    Pregnancy massage, also known as pre-natal massage, promotes relaxation, soothes nerves, and relieves strained back and leg muscles in expectant mothers. Pregnancy massage is especially benefical in the second and third trimesters, when the extra weight in your belly puts a strain on your back. Before you get a pre-natal massage, make sure the therapist has been specially trained.

    Twitter Facebook GooGle Plus YouTube Favorites More

     
    Design by WordPress Themes | Bloggerized by BidDeal - Premium Themes | 08 222 82 651