วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นวดแก้ปวดคอปวดศรีษะ

   แก้ปวดคอ – ปวดศีรษะ



สาเหตุ  อาการปวดศีรษะได้ดังนี้
1. ปวดศีรษะจากเส้นเอ็นกำเริบ
2. ปวดศีรษะจากเส้นอิทากำเริบ (จะมีอาการตามืดมัว และชักร่วมด้วย) คล้ายอาการปวดไมเกรน
3. ปวดศีรษะจากเส้นปิงคลากำเริบ (จะมีอาการ ตาแดง ปวดเบ้าตา คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย) คล้ายอาการปวดแบบ คลัสเตอร์
4. ปวดศีรษะจากลมปะกัง เนื่องจากเส้นอิทา ปิงคลากระทำพิษ ร่วมกับ กำเดา (จะมีอาการชัก ปากเอียงร่วมด้วย) ซึ่งอาการเป็นอาการปวดที่รุนแรงระยะท้ายๆของการปวดจากเส้นอิทา ปิงคลา
5. ปวดศีรษะจากสมอง ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาภายในกะโหลกศีรษะ เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งแผนโบราณเรียกว่า สมองฟู สมองเฟื่อง ซึ่งน่าจะหมายถึงสมองบวมนั่นเอง
6. ปวดศีรษะตามฤดูกาลทั้ง 3 (ร้อน ฝน หนาว) ซึ่งมีลักษณะไม่แน่นอน    แต่ มีอาการปวดล้ายกับการปวดศีรษะจากเมตาบอลิซึม เกิดจากการกินอาหารหรือสารพิษเป็นต้น อาจหมายความถึงการปวดศีรษะจากความเครียดในกลุ่มด้วย
การรักษา
1.นวดบ่าคอ1บ่าคอ2 กดจุด 5แนว (ท่านั่ง)
2. นวดแนวกำด้น ข้างกำด้นท้ายทอยไปหน้าผากไรผม
3.นวดแนวหลังหูนิ้วชี้-กลางกดคลึงพร้อมกัน
4.นวดเหนือแนวหูพร้อมกันขึ้นไปจุดจอมประสาท กดจุดจอมประสาท
5.กดหัวคิ้ว กลาง ปลายคิ้ว
6.หางตา อุณาโลม กดคลึงแนวกำด้นที่หน้าผาก
วิธีการนวดแก้อาการปวดศีรษะจากความเครียด
1. นวดพื้นฐานบ่าและจุดฐานคอ                                
2. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหลัง
3. กดเน้นจุดฐานกะโหลกด้านหลัง 3 จุด                  
4. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหน้า
5. กดเน้นจุดใต้หัวคิ้วกดรีดไปตามใต้หัวคิ้วถึงหางคิ้ว คลึงขมับ 
6. นวดพื้นฐานหลัง
วิธีการนวดแก้อาการปวดศีรษะจากเส้นอิทา (ไมเกรน)
 
1. นวดพื้นฐานบ่า เน้นจุดฐานคอ                               
2. นวดศีรษะด้านหลังข้างซ้าย เน้นบริเวณขมับข้างซ้าย
3. นวดศีรษะด้านหลังข้างขวา เน้นบริเวณขมับข้างขวา       
4. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหน้า
5. กดเน้นจุดใต้หัวคิ้วกดรีดไปตามใต้หัวคิ้วถึงหางคิ้ว คลึงขมับข้างซ้าย
6. นวดศีรษะด้านหลังข้างซ้าย เน้นบริเวณขมับข้างซ้าย
 
วิธีการนวดแก้อาการปวดศีรษะจากเส้นปิงคลา (คลัสเตอร์)
1. นวดพื้นฐานบ่า เน้นจุดฐานคอ                               
2. นวดศีรษะด้านหลังข้างขวา เน้นบริเวณขมับข้างขวา
3. นวดศีรษะด้านหลังข้างซ้าย เน้นบริเวณขมับข้างซ้าย       
4. นวดศีรษะด้านหลังข้างขวา เน้นบริเวณขมับข้างขวาอีกครั้ง
5. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหน้า เพิ่มจุดขอบคาง ใต้ริมผีปาก และจุดรอบโคนจมูก (รอบโพรงไซนัส)
6. นวดจุดเหนือใบหู คลึงขมับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Facebook GooGle Plus YouTube Favorites More

 
Design by WordPress Themes | Bloggerized by BidDeal - Premium Themes | 08 222 82 651