วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สูตรลูกประคบสมุนไพรรักษาเฉพาะโรคจากชาววัง สูตรดั้งเดิมจากชาววังเพื่อสุขภาพและความงาม ► ส่วนผสมยาลูกประคบสมุนไพร สูตรแก้อาการเหน็บชา

สูตรลูกประคบสมุนไพรรักษาเฉพาะโรคจากชาววัง
สูตรดั้งเดิมจากชาววังเพื่อสุขภาพและความงาม

ส่วนผสมยาลูกประคบสมุนไพร สูตรแก้อาการเหน็บชา
ชาตามปลายมือ ปลายเท้า ให้นำสมุนไพรเหล่านี้มาทำลูกประคบ แล้วประคบไปตามบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณที่มีอาการเหน็บชา สมุนไพรดังกล่าวประกอบด้วย
  • เปลือกกุ่ม     1 บาท 
  • เปลือกมะรุม     บาท 
  • เปลือกทองหลาง     1 บาท
  • เถาวัลย์เปรียง     1 บาท
  • เถาเอ็นอ่อน     1 บาท
  • ไพล     1 บาท 
  • เกลือ     1 บาท 
สมุนไพรดังกล่าวข้างต้นให้ใช้สัดส่วน "เสมอภาค" หมายถึง หากใช้อัตราส่วน บาท ก็ให้สมุนไพรทุกชนิดในอัตรา บาท เช่นกัน โดยการนำสมุนไพรทั้งหมด นี้มาหั่นหรือซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือตำพอเป็นชิ้น ๆ ไม่ต้องละเอียดมาก  เสร็จแล้วให้นำไปคั่วในกระทะ พอได้ที่ก็เทสุราผสมลงไปแล้วคนให้วจนเข้ากัน เนื่องจากสมุนไพรดังกล่าวมีเปลือกแข็งเป็นส่วนใหญ่จึงต้องใช้สุราเข้าไปดึงตัวยาออกมา
จากนั้น ก็ให้แบ่งสมุนไพรออกเป็นส่วน ๆ ไปห่อด้วยผ้าทำเป็นลูกประคบสมุนไพร ประคบตามบริเวณที่เป็นเหน็บชา แต่เนื่องจากการทำลูกประคบสมุนไพร สูตรนี้มีการเติมสุราลงไปแล้ว และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรนำลูกประคบไปนึ่งก่อนนำมาประคบเมื่อห่อด้วยผ้าเหมือนลูกประคบแล้วก็ให้ประคบไปเลย
ส่วนผสมยาลูกประคบสมุนไพร สูตรแก้ลมอัมพฤกษ์-อัมพาต
อาการ ที่เรียกว่า "ลมอัมพฤกษ์และอัมพาตซึ่งหลายคนอาจไม่เคยได้ยินนี้ ลักษณะอาการก็คือ มือและเท้าไม่มีแรง บางครั้งแม้แต่จะหยิบจับอะไรก็ทำไม่ ได้ บางคนยังมีอาการชาตามมือตามเท้าควบคู่กันไปด้วย เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นและระบบประสาท
สาเหตุ ของอาการเหล่านี้ ก็เนื่องมาจาก ตามปลายมือปลายเท้า โลหิตไหลเวียนไม่ สะดวก หรือมีโลหิตคั่งค้าง ทำให้ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงจนเกิดอาการมือเท้า ไม่มีแรงในที่สุด โดยคนที่มักจะมีอาการลมอัมพฤกษ์-อัมพาตนี้ ส่วนใหญ่จะเป็น ผู้มีอาการเส้นเลือดในสมองแตก คนที่ประสบอุบัติเหตุจนทำให้การสั่งการของ สมองบกพร่อง นอกจากนี้คนที่มีความดันโลหิตสูง รวมทั้งคนที่มีอาการเครียด เป็นประจำ ก็เสี่ยงต่อการเป็นลมอัมพฤกษ์-อัมพาตด้วย สมุนไพรที่นำมาทำ ลูกประคบเพื่อรักษาอาการดังกล่าว ประกอบด้วย
  • ไพล  บาท
  • ว่านน้ำ  บาท
  • การบุร  บาท
  • ใบพลับพลึง  ใบ
  • กุยช่าย  กำมือ
สมุนไพร ทั้ง อย่างในสัดส่วนที่ระบุไว้ มาตำให้แหลกจนเข้ากันดี จากนั้นให้นำ การบูรและต้นกุยช่าย มาซอยสั้น ๆ ผสมใส่ลงไป หลังจากส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดีแล้ว ก็ให้แบ่งออก เป็น ส่วน ทำเป็นลูกประคบ ลูกสับเปลี่ยนประคบไปตามบริเวณที่เป็นลม อัมพฤกษ์-อัมพาต โดยใบกุยช่ายนี้มีสรรพคุณช่วยกระจายเลือดที่คั่งค้างอยู่ ตามส่วนต่าง ๆ ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
ยาประคบพระเส้น (โอสถพระนารายณ์)
สูตรนี้เป็นตำรับที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ในยุคสุโขทัย ใช้แก้อาการเส้นตึงและอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ
สำหรับสมุนไพรในตำรับนี้มี
  • เทียนดำ  ส่วน
  • เกลือ  ส่วน
  • อบเชย  ส่วน
  • ไพล  ส่วน
  • ใบพลับพลึง  ส่วน
  • ใบมะขาม  16  ส่วน
ให้ นำตัวยาทั้ง อย่างตามสัดส่วนที่ให้ไว้ (การกำหนดส่วนจะขึ้นกับผู้ใช้ เช่น อาจกำหนด 1 ส่วน เท่ากับ 1 บาท หรือ 1 ส่วนเท่ากับ 1 ตำลึง เป็นต้น) มาคลุกเคล้าให้เข้ากันจากนั้น นำไปห่อทำเป็นลูกประคบ ก่อนใช้ให้นำไปนึ่งให้ ร้อนพอสมควร  และประคบบริเวณที่เส้นตึง สมุนไพรเหล่านี้ จะเข้าไปช่วยผ่อนคลายเส้นได้ และ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้ ควรมีลูกประคบประมาณ 2-3 ลูก เพื่อใช้สลับ สับเปลี่ยนในการนำไปนึ่งก่อนนำประคบเพื่อการประคบที่ต่อเนื่อง
ยาทาพระเส้น
ยาทาพระเส้น ยาตำรับนี้ใช้ทาแก้โรคเส้นพิรุธแก้ลมอัมพาต ลมปัฏฆาตกร่อน ตะคริว จับโปง เมื่อยขบ สำหรับส่วนผสมในตำรับยาก็คือ
  • พริกไทย
  • ข่า
  • กระชาย
  • หอม
  • กระเทียม
  • มหาหิงคุ์
  • ยาดำ
  • ทั้ง 7 อย่างนี้ให้นำมาอย่างละ 1 ส่วน
  • ตะไคร้หอม
  • ใบขี้เหล็ก
  • ใบตองแตก
  • ใบมะขาม
  • ใบเลี่ยน
  • ทั้ง อย่างนี้ ให้นำมาอย่างละ ส่วน 
  • นอกจากนี้ ยังมีใบมะคำไก่ 16 ส่วน
นำส่วนผสมเหล่านี้มาตำให้ละเอียด แล้วนำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณที่มีอาการเส้นตึง เป็นตะคริว หรือเมื่อยขบ
นอกจาก จะมีสูตรลูกประคบเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ  จะมีความสำคัญแล้ว  เคล็ดลับในการประคบก็ถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน  โดยมีอยู่ว่า  หากต้องการให้การรักษาอาการได้ผลแล้ว  การประคบแต่ละตรั้งจะต้องใช้เวลาประมาณ  25-30  นาที  และหลังจากประคบแล้ว  ให้เว้นช่วงไว้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนไปอาบน้ำ  เพื่อให้ตัวยาซึมเข้าไปใต้ผิวและไปรักษาอาการต่างๆ ก่อน
สำหรับ กรณีใช้การประคบเพื่อรักษาอาการลมอัมพฤกษ์-อัมพาต และต้องนำลูกประคบไปนึ่ง ก่อนนำมาใช้นั้น สิ่งที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่งก็คือ ควรตรวจสอบก่อนว่าลูกปะ คบนั้นร้อนเกินไปหรือไม่ ความร้อนจะไปลวกผิวให้เกิดอาการไหม้ หรือบวมแดง หรือไม่
ทั้งนี้ เนื่องจากคนเป็นโรคลมอัมพฤกษ์-อัมพาตนั้น ประสาทรับความรู้สึกของเขาจะสั่ง การช้า หากเราใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป เขาอาจจะรู้ตัวต่อเมื่อผิวเกิดอาการ ไหม้แดงแล้ว เรื่องนี้จึงพึงระมัดระวังให้จงหนัก

 
สูตรลูกประคบสมุนไพรสำหรับรักษาเฉพาะโรค
สูตรลูกประคบสมุนไพรตำรับแก้ปวดเมื่อย
สูตรลูกประคบสมุนไพรตำรับแก้เคล็ดคัดยอก ฟกช้ำ
หมอ พื้นบ้านหรือแพทย์แผนไทยนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดโรค เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ใบส้มป่อย ใบมะขาม เหง้าไพล ตะไคร้บ้าน ผิวมะกรูด การบูร พิมเสน เกลือแกง มาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของลูกประคบสมุนไพร เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดอาการแก้เคล็ดคัดยอก ฟกช้ำดำเขียว และแก้ปวดเมื่อย การเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ลูกประคบสมุนไพรสำหรับรักษาเฉพาะโรคสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางการแพทย์ แผนไทยของบรรพบุรุษไทยได้อย่างน่าทึ่งยิ่งนัก

สูตรลูกประคบสมุนไพรตำรับแก้ปวดเมื่อย
ส่วนผสมลูกประคบสมุนไพร
  • หัวไพล     500 กรัม
  • ขมิ้นชัน     50 กรัม
  • ขมิ้นอ้อย     50 กรัม
  • ผิวมะกรูด     100 กรัม
  • ตะไคร้บ้าน     20 กรัม
  • ใบมะขาม     300 กรัม
  • การบูร     30 กรัม
  • เกลือแกง     60 กรัม
สรรพคุณของสูตรลูกประคบสมุนไพรตำรับแก้แก้ปวดเมื่อย
สรรพคุณของสมุนไพรจะช่วยลดอาการ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เคล็ดขัดยอก ลดอาการบวมอักเสบและแก้โรคผิวหนัง ลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัว ลกอาการติดขัดของข้อต่อ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนทำให้เลือดลมเดินสะดวก แก้ลมวิงเวียน ช่วยบำรุงหัวใจ แก้อาการคันตามร่างกายช่วยบำรุงผิวหนัง 
 
สูตรลูกประคบสมุนไพรตำรับแก้เคล็ดคัดยอก ฟกช้ำ
ส่วนผสมลูกประคบสมุนไพร
  • ผิวมะกรูด     50 กรัม
  • หัวไพลสด     500 กรัม
  • ตะไคร้บ้าน     100 กรัม
  • ขมิ้นชัน     25 กรัม
  • ขมิ้นอ้อย     25 กรัม
  • ใบมะขามแก่     25 กรัม
  • ใบส้มป่อย     25 กรัม
  • พิมเสน     50 กรัม
  • การบูร     50 กรัม
  • เถาเอ็นอ่อน     50 กรัม
สรรพคุณของสูตรลูกประคบสมุนไพร
ตำรับแก้เคล็ดคัดยอก ฟกช้ำดำเขียว

ตัวยาสมุนไพรของลูกประคบสมุนไพรส่วนใหญ่มีสรรพคุณในการ แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว ทำให้เส้นเอ็นของกล้ามเนื้อหย่อนเมื่อผสมผสานกับความร้อนจากลูกประคบสมุนไพร ก็เท่ากับเสริมฤทธิ์ในการรักษาซึ่งกันและกัน สมุนไพรที่ใช้ตามตำรานี้ เป็นทั้งสมุนไพรแบบสดและสมุนไพรแบบแห้ง เป็นตัวยาที่มีน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรซึ่งเป็นสารในการออกฤทธิ์ที่ สำคัญนอกจากนี้เราอาจจะใช้สมุนไพรชนิดอื่น ๆ มาร่วมอีกก็ได้ เช่น ว่านนางคำ หัวหอม ใบพลับพลึง ขิงสด ว่านน้ำ ดีปลี เปราะหอม ผักบุ้ง เปลือกชะลูด ถ้าหาไม่ได้ก็ไม่เป็นไรใช้เท่าที่มี แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือ หัวไพล ผิวมะกรูด ใบมะขามแก่และใบส้มป่อย
 อุปกรณ์ในการทำลูกประคบสมุนไพรรักษาโรค
  1. เขียง 1 อัน และมีด 1 เล่ม
  2. ตัวยาสมุนไพรรวมที่ใช้ทำลูกประคบสมุนไพร
  3. ผ้าดิบสำหรับห่อทำลูกประคบสมุนไพร 2 ผืน และเชือก 2 เส้น ยาว 1 เมตร
  4. หม้อนึ่งลูกประคบสมุนไพร
  5. กะละมัง ถุงมือ ผ้าขนหนู
  6. จานรองลูกประคบสมุนไพร 
วิธีการทำลูกประคบสมุนไพรรักษาโรค
  • เตรียมสมุนไพรให้พร้อมก่อนลงมือปรุงตามสูตรลูกประคบสมุนไพร หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โขลกพอแหลก นำสมุนไพรชั่งน้ำหนักแต่ละชนิดตามสูตรมาตรฐานที่กำหนดไว้
  • นำส่วนผสมทั้งหมดของลูกประคบสมุนไพรมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วให้นำมาทดสอบน้ำหนักรวมกันอีกครั้งหนึ่ง
  • นำส่วนผสมสมุนไพรลูกประคบมาใส่ในผ้า ห่อเป็นลูกประคบสมุนไพร รัดด้วยเชือกให้แน่น พร้อมใช้
วิธีการห่อลูกประคบสมุนไพรรักษาโรค
  1. นำส่วนผสมสมุนไพรของลูกประคบมา วางตรงกลางผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้า 2 มุม ขึ้นมาทบกัน โดยจับทีละมุมจนครบทั้ง 4 มุม จากนั้นจะเกิดมุมผ้าขึ้นมาอีก 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุมอีกครั้งหนึ่งจนครบทั้ง 4 มุม
  2. แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียว จากนั้นค่อย ๆ จัดแต่งลูกประคบสมุนไพรให้เป็นรูปทรงกลมที่สวยงาม
  3. เมื่อได้ลูกประคบสมุนไพรที่เป็นรูปทรงกลมที่สวยงามแล้ว ให้นำเชือกมาพับครึ่ง ร้อยเป็นห่วงให้ชายทั้งสองเท่ากัน
  4. จาก นั้นพันทบกัน 2 รอบแล้วผูกให้แน่นด้วยเงื่อนตาย 1 รอบ ก็จะทำให้เหลือปลายผ้าที่เท่ากันทั้งสองข้าง ค่อย ๆ จัดระเบียบชายผ้าในส่วนที่จะทำเป็นด้ามจับลูกประคบสมุนไพร
  5. การทำด้ามจับลูกประคบสมุนไพร โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อเก็บชายผ้าทั้งสองด้าน
  6. หลังจากที่เราจัดแต่งและซ่อนชายผ้าของลูกประคบสมุนไพรเป็น ที่เรียบร้อยแล้ว ให้พับลงมาประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เพื่อทำด้ามจับ ใช้ปลายของเชือกเส้นเดิมมาพันทบกันอีก 2 รอบ โดยการผูกเชือกแบบเงื่อนตายให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง
  7. ให้ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ เพื่อให้ลูกประคบสมุนไพรมีความแข็งแรงและสวยงามคงทนต่อการใช้งาน
  8. นำเชือกป่านมาผูกให้แน่นอีกครั้งหนึ่งโดยผูกแบบเงื่อนตาย ปลายด้านหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เสร็จแล้วให้ยกขึ้นมาแนบกับด้ามจับลูกประคบสมุนไพร ใช้ปลายเชือกส่วนที่ยาวกว่าพันขึ้นมา โดยใช้ปลายนิ้วไล่กดเชือกให้แน่น การทำเช่นนี้จะทำให้เชือกเรียงกันดูสวยงามและเป็นระเบียบ
  9. เมื่อ พันจนสุดชายเชือกแล้วให้ผูกเงื่อนตายไว้กับปลายเชือกเส้นที่แนบไว้กับด้าม จับในตอนแรก จากนั้นซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าที่เป็นด้ามจับ เพียงเท่านี้ก็จะได้ลูกประคบสมุนไพรที่สวยงามพร้อมสำหรับการใช้งาน
     

วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพรรักษาโรค
  • นำลูกประคบสมุนไพร 2 ลูก ไปนึ่งในหม้อนึ่ง (หม้อดินหรือหม้ออะไรก็ได้) นึ่งประมาณ 15-20 นาที เมื่อลูกประคบสมุนไพรร้อนให้นำลูกแรกไปประคบตามจุดหรือตำแหน่งที่ต้องการ รักษา นำลูกประคบสมุนไพรลูกที่ 2 ไปนึ่งในหม้อระหว่างที่ใช้ลูกประคบลูกแรก
  • เมื่อลูกประคบลูกแรกเย็นลง นำลูกประคบลูกแรกกลับไปนึ่งใหม่อีกครั้ง นำลูกประคบสมุนไพรลูกที่สองมาใช้ประคบต่อไป ทำสลับกันไปมา การประคบต้องให้ลูกประคบร้อนอยู่ตลอดเวลา
  • โดยทั่วไปใช้เวลาในการประคบประมาณ 15-20 นาที ต่อการประคบ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเคล็ดขัดยอก อาจประคบได้วันละ 2 ครั้ง
  • วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร สูตรที่มีการผสมสุราลงไปในลูกประคบสมุนไพร ไม่ควรนำลูกประคบสมุนไพรไปนึ่งก่อนนำมาประคบ เพราะสุรามีฤทธิ์ร้อนอยู่แล้ว สามารถนำลูกประคบสมุนไพรมาประคบได้ทันที

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Facebook GooGle Plus YouTube Favorites More

 
Design by WordPress Themes | Bloggerized by BidDeal - Premium Themes | 08 222 82 651